AC127 : https://ac127.wordpress.com/

คุณยุ้ย – อัมพิกา (หาญพานิช) ศิริสุวัฒน์

มงคลสูตรคำฉันท์ ทุกข์ของชาวนา หัวใจชายหนุ่ม

มงคลสูตรคำฉันท์

มงคลสูตรคำฉันท์  เป็นวรรณคดี  คำสอน  ผลงานพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงนำหลักธรรมที่เป็นพระคาถาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้งแล้วแปลถอดความเป็นคำประพันธ์ที่ไพเราะ  มีความงดงามทั้งด้านเสียงและความหมาย  สามารถจดจำได้ง่าย  มงคลสูตรคำฉันท์นี้จะเกิดแต่ตัวเราเองได้ก็ต้องเป็นผลมาจากการประพฤติปฏิบัติดีของตนเองเท่านั้น  หาได้มาจากปัจจัยอื่นเลย

ผู้แต่ง  พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว 
ลักษณะคำประพันธ์   กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 แทรกคาถาบาลี
จุดมุ่งหมายในการแต่ง   เพื่อให้ตระหนักว่าสิริมงคลจะเกิดแก่ผู้ใดก็เพียงผลมาจากการปฏิบัติของตนทั้งสิ้น
ไม่มีผู้ใดหรือสิ่งใดจะทำให้เกิดสิริมงคลแก่เราได้  นอกจากตัวเราเอง
ความเป็นมา   เมื่อ พ.ศ. 2466 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงนำมงคลสูตรมาทรงพระราชนิพนธ์เป็นบทร้อยกรองประเภทคำฉันท์  โดยใช้คำประพันธ์ 2 ชนิด คือ  กาพย์ฉบัง 16 และอินทรวิเชียรฉันท์ 11 ทรงนำคาถาภาษาบาลีจากพระไตรปิฏกตั้ง
แล้วแปลถอดความเป็นร้อยกรองภาษาไทย  ได้ถูกต้องตรงตามบังคับในฉันทลักษณ์ โดยไม่เสียเนื้อความจากพระคาถาบาลี  การจัดวางลำดับของมงคลแต่ละข้อก็เป็นไปตามที่ปรากฏอยู่ในพระคาถาเดิม  ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพทางด้านภาษาได้อย่างดียิ่ง

                                                  “อเสวนา จ พาลานํ ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา
                                                  ปูชา จ ปูชนียานํ  เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ
                                                  หนึ่งคือบ่คบพาล  เพราะจะพาประพฤติผิด
                                                  หนึ่งคบกะบัณฑิต  เพราะจะพาประสบผล
                                                  หนึ่งกราบและบูชา อภิบูชนีย์ชน
                                                  ข้อนี้แหละมงคล  อดิเรกอุดมดี

 

เรื่องย่อ
          สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงมงคลอันสูงสุด 38 ประการ  ไว้ในมงคลสูตร  ซึ่งเป็นพระสุตรสำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนา  มงคลสูตรปรากฏในพระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  หมวดขุททกปาฐะ
          พระอานนทเถระได้กล่าวถึงที่มาของมงคลสูตรว่า  ท่านได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้า ณ เชตวันวิหาร  กรุงสาวัตถี  มงคลสูตรนี้เกิดขึ้นด้วยอำนาจคำถาม  คือ  พระพุทธเจ้าทรงเล่าให้พระอานนท์ฟังว่า  มีเทวดาเข้ามาทูลถามพระองค์เรื่องมงคล  เพราะเกิดความโกลาหลวุ่นวายขึ้นทั้งในหมู่เทวดาและมนุษย์  ที่มีลัทธิเรื่องมงคลแตกต่างกันเป็นเวลานานถึง 12 ปี  ท้าวสักกเทวราชจึงทรงมอบหมายให้ตนมาทูลถาม  พระพุทธองค์จึงตรัสตอบเรื่องมงคล 38 ประการ  ต่อจากราตรีนั้นพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเรื่องมงคลนี้แก่พระอานนท์อีกครั้งหนึ่ง

ใจความสำคัญของมงคลสูตร
คาถาบทที่ 1          ไม่ควรคบคนชั่วเพราะจะพาให้เราประพฤติชั่วไปด้วย  ควรคบคนดีมีความรู้เพราะจะนำเราไปสู่ความสำเร็จ  และควรบูชาคนดี
คาถาบทที่ 2          ควรปฏิบัติตนและอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควรแห่งตน  ทำบุญไว้แต่ปางก่อน
คาถาบทที่ 3          รู้จักฟัง  รู้จักพูด  มีวินัย  ใฝ่ศึกษาหาความรู้
คาถาบทที่ 4          ดูแลบิดามารดา  บุตร  ภรรยาเป็นอย่างดี  ทำงานด้วยความตั้งใจ
คาถาบทที่ 5          รู้จักให้ทาน  ช่วยเหลือญาติพี่น้อง  ทำแต่ความดี  มีสัมมาอาชีพ
คาถาบทที่ 6          ไม่ประพฤติชั่ว  ไม่ละเลยในการประพฤติ  เว้นการดื่มน้ำเมา
คาถาบทที่ 7          ให้ความเคารพผู้ควรเคารพ  มีความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีความพอใจในสิ่งที่ตนมี  มีความกตัญญูรู้คุณ  และรู้จักฟังธรรมในโอกาสอันควร
คาถาบทที่ 8          มีความอดทน  ว่านอนสอนง่าย  หาโอกาสพบผู้ดำรงคุณธรรมเพื่อสนทนาธรรม
คาถาบทที่ 9          พยายามกำจัดกิเลส  ประพฤติพรหมจรรย์  เข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจิตสงบถึงซึ่งนิพพาน
คาถาบทที่ 10        มีจิตอันสงบ  รู้จักปล่อยวางไม่หวั่นไหวกับสิ่งที่มากระทบ
คาถาบทที่ 11        เทวดาและมนุษย์ปฏิบัติสิ่งที่เป็นมงคลเหล่านี้แล้วจะไม่พ่ายแพ้ให้แก่ข้าศึกทั้งปวง  
                                มีแต่ความสุขความเจริญทุกเมื่อ

หัวใจชายหนุ่ม

ชื่อและประวัติผู้แต่ง  พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าองค์ที่ 2 ในจำนวน 9 พระองค์ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชสมภพเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 ณ พระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังชั้นใน มีพระเชษฐภคินีและพระอนุชาร่วมพระมารดา คือ
1. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ (พ.ศ. 2421-2430)
2. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2423-2468)
3. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าตรีเพ็ชรุตม์ธำรง (พ.ศ. 2424-2430)
4. จอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ (พ.ศ. 2425-2463)
5. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ (พ.ศ. 2428-2430)
6. พลเรือเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา (พ.ศ. 2432-2467)
7. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย (พ.ศ. 2435-2466) และ
8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. 2436-2484)

เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 46 พรรษา เสด็จดำรงราชสมบัติรวม 16 ปี ทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า” พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ในพระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจำรัชกาลในเรื่อง “หัวใจชายหนุ่ม” นี้ พระองค์ได้ใช้พระนามแฝงว่า “รามจิตติ” ได้ลงพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตรายเดือนเมื่อ พ.ศ. 246

ชื่อและลักษณะนิสัยของตัวละคร
นายประพันธ์ เป็นผู้นิยมวัฒนธรรมตะวันตกอย่างผิดๆ ซึ่งบางสิ่งไม่ถูกต้องตามธรรมเนียมของไทย อันเปรียบเหมือนการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอน เช่น คำกล่าวที่ว่า “ อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้เห็นผู้ชาย ” ซึ่งที่จริงแล้วเป็นธรรมเนียมที่ดีของไทย ที่กุลสตรีที่ดีงามมักจะเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน เพื่อฝึกการบ้านการเรือน อีกประการก็มีจิตใจที่อ่อนไหวครั้งเมื่อเห็นจดหมายที่ส่งให้แก่แม่อุไรนั้น ถูกฉีกเป็นเศษเล็กเศษน้อยร่วงออกมา “ ฉันเทออกแล้วจึงจำได้ว่าเป็นจดหมายที่ฉันมีไปถึงแม่อุไรนั่นเอง ขอให้นึกเถิดว่าฉันสะดุ้งปานใด” ตั้งแต่ครั้งนั้นเองทำให้ประพันธ์เปลี่ยนทัศนคติใหม่ๆที่มีต่อสตรีไทย ทั้งยังเป็นห่วงเป็นใยเสียด้วยซ้ำ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ดังที่กล่าวว่า “ ถ้าเมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆ พร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายที่มักมากจักต้องเปลี่ยนความคิด และความประพฤติ”
แม่อุไร จากคำกล่าวของนายประพันธ์ที่ว่า “ขอบอกโดยย่อว่าหล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดที่ฉันเคยได้พบในกรุงสยาม หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้หญิงไทย” เห็นได้ว่าบุคลิกดูเป็นคนมั่นใจในตัวเอง กล้าคิดกล้าพูดแบบคนตะวันตก แต่หากกาลเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้เห็นว่าคนเราสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมกันได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังไม่หมดลมหายใจ กิริยาดูหยาบกระด้าง ดูแคลน เห็นผิดเป็นชอบ ดังที่ว่า “เห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าคนเป็นเกียรติยศดี พูดจาต้องขู่ฟ่อๆ ราวกับแมวที่ดุเสมอ” และแสดงให้เห็นถึงกิริยามารยาทที่ไม่ใช่แบบแผนที่สุภาพเรียบร้อยของคนไทย “แม่อุไรเดินกระทืบตีนปังๆ ขึ้นไปถึงห้องรับแขก นั่งลงทำหน้ามู่ทู่ไม่พูดไม่จาอะไรเป็นครู่ใหญ่ๆ” อีกสิ่งหนึ่งคือ การที่ไม่รู้จักรักษานวลสงวนตัว ยอมทอดกายให้ชายถึงสองคน คือ นายประพันธ์ ทำให้ท้องก่อนแต่ง และพระยาตระเวนนคร ที่มีนางบำเรออยู่แล้วถึง ๗ คน ทำให้ผิดหวังในความรักซ้ำแล้วซ้ำเล่า
พระยาตระเวนนคร เป็นคนเจ้าชู้ประเภท เสือผู้หญิง ดังที่นายประพันธ์กล่าวไว้ว่า “ถ้าเห็นผู้หญิงสวยๆ และมีคนตอมจะต้องพยายามให้ได้หญิงคนนั้นจนได้ แต่ได้แล้วมักจะเบื่อ” ทั้งยังมีปัญญาที่เฉลียวฉลาด จากการที่ ยังไม่ยอมตกลงเป็นผัวเมียโดยราชการกับแม่อุไร ทำให้ไม่ต้องคอยพาแม่อุไรไปออกงานสังคมมากนัก จึงมีโอกาสที่จะพบปะกับหญิงใหม่ๆ ได้ตลอดเวลา
หลวงพิเศษผลพานิช เป็นพ่อค้าที่มั่งมี แต่มีความจริงใจ ดังคำที่ว่า “จริงอยู่หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้าง คือ ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน” จึงนับว่าเป็นบุญของแม่อุไรที่ได้พบคนที่ด

ข้อคิดคติธรรมที่ได้จากเรื่อง
1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น
4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า
5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด

ประโยชน์และคุณค่าที่ได้รับจากเรื่อง
คุณค่าด้านวรรณศิลป์
มีการเริ่มต้นเรื่องได้อย่างหลงใหลและน่าติดตาม อีกทั้งการดำเนินเรื่องก็ชวนให้ติดตามไปจนจบเรื่อง สำนวนภาษาในการเขียนจดหมายและการเลือกใช้คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ รวมทั้งคำแสลงมากมายสอดคล้องกับลักษณะของประพันธ์ผู้ยังอยู่ในวัยหนุ่มและเพิ่งกลับมาจากต่างประเทศใหม่ๆ นอกจากนั้นดดเนื้อความของจดหมายก็เป็นมุมมองหรือทัศนะที่ตรงไปตรงมาเหมือนจดหมายส่วนตัวทั่วๆ ไป กลวิธีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ทำให้หัวใจชายหนุ่มมีความสมจริงเป็นอย่างยิ่ง และสามารถสื่อแนวคิดที่ต้องการนำเสนอได้แจ่มแจ้งชัดเจน
คุณค่าด้านเนื้อหา
มีการสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาด และมีทั้งความสมควรและไม่สมควร โดยมีลักษณะที่สมจริง สมเหตุสมผล โดยประพันธ์ถือเป็นคนที่มีแนวคิดสมัยใหม่ซึ่งบางครั้งตรงกันข้ามกับความเป็นไทยที่เหมาะสม แต่ยังสามารถกลับตัวกลับใจมาเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ จึงมีความสมบูรณ์ทั้งตัวละคร และเนื้อหาของตัวละครด้วย
คุณค่าด้านสังคม
บทกวีย่อมสะท้อนสภาพสังคมของกวีตามมุมมองของกวี ซึ่งสามารถเข้าถึงสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งแตกต่างกับสังคมยุคปัจจุบันอย่างมาก ทั้งในด้านของการปกครองที่กล่าวไว้ในเรื่องว่า “ท่านว่าขายของได้ดีอย่างไรๆ ก็จะเป็นอะไรไม่ได้ นอกจากขุนนางกรมท่าซ้าย ทั้งกว่าจะได้เป็นหลวงก็อีกหลาย แล้วอาจจะเป็นหลวงตั้งแต่อายุ ๓๐ เมื่ออายุ ๔๕ จึงได้เป็นพระ แล้วก็ยังเป็นพระจนทุกวันนี้ และไม่แลเห็นทางที่จะเป็นพระยาด้วย” แสดงให้เห็นว่าบ้านเมืองในอดีตกับปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก ทั้งสภาพจิตใจคนในสมัยต่างๆ ก็แตกต่างกันไปด้วย ทางที่ดีหากเราสามารถกระทำความดีได้ ไม่ว่าจะอยู่ในยุคสมัยใดก็ตาม ก็ควรหมั่นทำความดีไว้ เพราะแม้ตัวได้วายลง แต่ความดีมิได้วายตามไปด้วยอย่างแน่นอน

เนื้อเรื่องย่อ
นายประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐซึ่งเป็นเพื่อนรักของเขา นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกจากประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมาถึงเมืองไทย พ่อของเขาหวังจะให้แต่งงานกับแม่กิมเน้ย แต่ประพันธ์ไม่ชอบใจการแต่งตัวของหล่อนที่ประดับประดามากเกินไปและดูเกินงาม จนทำให้เขาปลีกตัวออกไปจากการคลุมถุงชนจนได้พบกับแม่อุไร ซึ่งเป็นหญิงสาวหัวนอกด้านวัฒนธรรมตะวันตกเช่นเดียวกับประพันธ์ ทั้งสองถูกคอกัน มักพากันเที่ยวเตร่สม่ำเสมอ จนในที่สุดเกิดได้เสียกันจนแม่อุไรตั้งครรภ์ จึงจำเป็นต้องแต่งงานกันบนความไม่พอใจของผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย แต่เมื่อแต่งงานไปนานๆ นิสัยของแม่อุไรได้เปลี่ยนไป ชอบข่มสามีต่อหน้าคนอื่น หยาบกระด้าง ไร้ซึ่งมารยาท จนหนักเข้าเธอเริ่มเหินห่างประพันธ์ไปคบกับพระยาตระเวนนคร เสือผู้หญิงที่ประสงค์ได้ผู้หญิงคนไหนย่อมได้ทุกครั้งไป รวมถึงแม่อุไรที่ต้องหย่ากับประพันธ์ด้วยหวังว่าพระยาตระเวนนครจะให้เกียรติเธอราวภรรยาคนสำคัญ แต่กลับตาลปัตรทางรักของแม่อุไรพังลงเมื่อพระยาตระเวนนครมีหญิงคนใหม่ เธอจึงกลับมาขอคืนดีกับประพันธ์ แต่ถูกปฏิเสธ จนเหตุการณ์ต่างๆ ผ่านชีวิตของนายประพันธ์ไป ทำให้เขาเริ่มคิดได้ว่าบางทีการดำเนินชีวิตแบบชาวตะวันตกนั้นมิสามารถใช้ได้กับวิถีแห่งความเป็นไทย ในที่สุดเขาได้พบกับนางสาวศรีสมาน หญิงสาวผู้ที่เขาคิดว่าจะเยียวยา และบำรุงชีวิตของเขาให้ฟื้นคืนมาได้ ส่วนแม่อุไรก็ได้พบรักกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้าผู้มั่งมี แม้หน้าตาของเขาจะมิได้หล่อเหลา แต่มีเงินมากพอที่จะซื้อความสุขให้กับแม่อุไรได้เช่นกัน เรื่องราวต่างๆ ได้จบลงด้วยจดหมายฉบับสุดท้ายแต่เพียงเท่านี้…

จดหมายถึง นายประเสริฐ สุวัฒน์ 

ฉบับที่ 1

ประพันธ์เขียนจดหมายถึงนายประเสริฐขณะที่กำลังนั่งเรือกลับบ้าน เขียนอาลัยอาวรณ์ต่อการจากลอนดอน จะไม่ได้ทำในสิ่งที่อยากทำอีกแล้วชอบทำ เคยทำ เมื่อมาอยู่เมืองไทย และนอกจากนั้นนายประพันธ์ยังได้ฝากความรักถึงหญิงคนรักอีกด้วย

ฉบับที่ 4

ประพันธ์เมื่อถึงเมืองไทยต้องไปพบปะผู้คนมากมาย เพื่อหางานทำ พ่อของประพันธ์ต้องการให้ประพันธ์เข้ารับราชการในพระราชสำนัก แต่ตำแหน่งว่างหายาก ประพันธ์จึงคิดประกอบอาชีพทางการค้า แต่พ่อของประพันธ์ขัดข้อง เพราะอาชีพค้าขายนั้นเป็นใหญ่เป็นโตยาก พอประพันธ์กลับถึงบ้านได้ 7 วัน พ่อของประพันธ์ก็บอกว่า หาเมียไว้ให้คนหนึ่งแล้ว ประพันธ์ไม่ยอมแต่งงานแบบคลุมถุงชน จึงเกิดการทะเละขึ้นระหว่างพ่อลูก แม่ของประพันธ์จึงบอกให้รอดูตัวก่อน จึงค่อยสู่ขอ ประพันธ์คิดว่ากรุงเทพหาที่เที่ยวยาก และเขาก็ยังไม่พบผู้หญิงที่ถูกใจ จนกระทั่งประพันธ์ได้ไปดูภาพยนตร์ จึงได้พบผู้หญิงที่เข้าตาคนหนึ่ง

ฉบับที่ 5

ประพันธ์ได้เข้ารับราชการ พ่อของประพันธ์ได้พาประพันธ์ไปดูตัวกิมเน้ย ประพันธ์คิดว่า หน้าตาแม่กิมเน้ย เหมือน ซุน ฮู หยิน และแต่งเครื่องเพชรมากเกินไป ส่วนผู้หญิงที่เข้าตาประพันธ์นั้น ชื่อ อุไร พรรณโสภณ และที่ถูกใจประพันธ์มากคือ แม่อุไร ได้หัดเต้นรำแล้ว

ฉบับที่ 6

ประไพน้องส่าวของประพันธ์ ได้เชิญแม่อุไรให้ไปดูการแต่งไฟทางลำน้ำ ประพันธ์กับแม่อุไรจึงได้ทำความรู้จักสนิทสนมกัน ในงานฤดูหนาว ประพันธ์ได้มีโอกาสพาแม่อุไรเที่ยวทุกคืน ประพันธ์ได้เล่าให้ประเสริฐฟังถึงความงามของแม่อุไร และได้กล่าวถึงแม่กิมเน้ย ที่ไม่ยอมพูดด้วย เมื่อเห็นประพันธ์ไปกับแม่อุไร

ฉบับที่ 9

ประพันธ์ได้แต่งงานกับแม่อุไรแล้ว หลังจากประพันธ์ได้กลับจากหัวหิน ประพันธ์ก็บอกพ่อว่า มีความรักกับแม่อุไร แต่พ่อของประพันธ์ไม่อยากได้แม่อุไรมาเป็นลูกสะใภ้ จึงขอให้รอดูอีก 1 ปี แต่ประพันธ์บอกว่าถ้าอยู่รออาจได้หลานก่อน พ่อของประพันธ์จึงขัดข้องไม่ได้ จึงจัดการสู่ขอให้ เมื่อทั้งคู่แต่งงานกันแล้ว จึงได้ไปฮันนี่มูนกันที่หัวหิน

สรุปใจความสำคัญของจดหมาย หัวใจชายหนุ่ม

1. ฉบับที่ 1

นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกันเป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่งถึง
การเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายใจเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับที่ท่าเรืออยู่แล้ว
คำทับศัพท์   เร็สตอรังค์ ศิวิไลซ์ อันศิวิไลซ์

คำแสลง  โก้

2. ฉบับที่ 4

จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ยเป็นลูกสาวของนายอากรเพ้งซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ยก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย

คำทับศัพท์  แบชะเลอร์ ฟรี แฟแช่น โฮเต็ล

สำนวนที่ได้  เดินเข้าท้ายครัว หมอบราบคาบแก้ว คลุมถุงชน ลงรอยเป็นถ้าประนม

3. ฉบับที่ 5

จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกนทพานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแกิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อ นางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร

คำศัพท์   นางซุนฮูหยิน

4. ฉบับที่ 6

จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาวทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย

คำทับศัพท์   ปอปูล่าร์ สัปเป้อร์ เอดูเคชั่น โช

สำนวนที่ได้  ทำตัวเป็นหอยจุ๊บแจง ค้อนเสียสามสี้วง

5. ฉบับที่ 9

จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.

คำทับศัพท์   ฮันนีมูน

สำนวนที่ได้   โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้ ชิงสุกก่อนห่าม

ฉบับที่ 11

ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3 อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไรไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ

คำศัพท์   หัวเมือง หน้ามู่ทู่ บ่าว

ฉบับที่ 12

แม่อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยวอยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีกเป็นชิ้นๆกลับมา ต่อมา หลวงเทพ ก็มาหาประพันธ์เพื่อบอกว่า แม่อุไรไปค้างบ้านพระยาตระเวนนครแล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง

สำนวนที่ได้

เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน อุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์

คำศัพท์   ฉิว

ฉบับที่ 13

ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7 นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวณจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง
คำทับศัพท์    อินเตอเร็สต์ อ๊อกฟอร์ด เล็กเชอร์

คำศัพท์  นางสุวิญชา ผู้รั้ง หลวง

ฉบับที่ 15

ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฏหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้

สำนวนที่ได้   ขนมปังครึ่งก้อนดีกว่าไม่มีเลย

คำศัพท์  ฉุน แตรตรวจ หัวนอก

ฉบับที่ 17

ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่าให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ

สำนวนที่ได้   ขุดอู่

คำศัพท์  เรี่ยม

ฉบับที่ 18

แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก

สำนวนที่ได้  เทวดาถอดรูป

คำศัพท์  เพื่อนบ่าว

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  เป็นบทความพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ที่แสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ความเข้าพระทัยในปัญหาต่าง ๆ ตลอดจนพระเมตตาของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนา  เนื่องด้วยชาวนาแต่ละท้องที่ล้วนมีสภาพชีวิตและความทุกข์ยากที่ไม่แตกต่างกันเลย  แม้ว่ากาลเวลาจะผันผ่านไปอย่างไรก็ตาม

ผู้แต่ง   สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี 
ลักษณะคำประพันธ์   ร้อยแก้ว  ประเภทบทความ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง   เพื่อแสดงพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและบทกวีจีน  ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
ความเป็นมา   ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  เรื่อง  มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533  ในวโรกาสที่พระองค์
ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ  โดยนิสิตคณะอักษรศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รุ่นที่ 41 พระราชนิพนธ์นั้นแสดงให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีของไทยและจีนที่กล่าวถึงชีวิต และความทุกข์ของชาวนาที่มีสภาพชีวิตไม่ได้แตกต่างกันนัก

                                                       “เปิบข้าวทุกคราวคำ                     จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน”

เรื่องย่อ
          เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงยกบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ซึ่งได้กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
          ต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทยทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีน  เมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่า  มิได้มีความแตกต่างกัน  แม้ในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาเท่าที่ควร  ส่วนที่สำคัญที่สุดคือ  ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้จิตร  ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอความทุกข์ยากของชาวนา  และทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกยุคทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่แตกต่างกันเลย

เนื้อเรื่อง
          ทุกข์ของชาวนาในบทกวี
               เมื่อครั้งเป็นนิสิต  ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร  ภูมิศักดิ์  อยู่บ้าง  แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด  หรือวิเคราะห์อะไร  เพียงแต่ได้ยินคำเล่าลือว่าเขาเป็นคนที่ค้นคว้าวิชาการได้กว้างขวางและลึกซึ้งถี่ถ้วน  ในสมัยที่เราเรียนหนังสือกัน  ได้มีผู้นำบทกวีของจิตรมาใส่ทำนองร้องกัน  ฟังติดหูมาจนถึงวันนี้

                                                            เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน

               ดูสรรพนามที่ใช้ว่า  “กู”  ในบทกวีนี้  แสดงว่าผู้ที่พูดคือชาวนา  ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ “ลำเลิก”  กับใคร ๆ ว่า  ถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน  อย่าว่าแต่การลำเลิกทวงบุญคุณเลย  ความช่วยเหลือที่สังคมมีต่อคนกลุ่มนี้ในด้ายของปัจจัยในการผลิต  การพยุงหรือประกันราคา  และการรักษาความยุติธรรมทั้งปวงก็ยังแทบจะเป็นไปไม่ได้  ทำให้ในหลาย ๆ ประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจ  ชาวนาต่างก็ละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมไปอยู่ในภาคอุตสาหกรรมหรือภาคบริการ  ซึ่งทำให้ตนมีรายได้สูงกว่าหรือได้เงินเร็วกว่า  แน่นอนกว่า  มีสวัสดิการดีกว่าและไม่ต้องเสี่ยงมากเท่าการเป็นชาวนา  บางคนที่ยังคงอยู่ในภาคเกษตรกรรมก็มักจะนิยมเปลี่ยนพืชที่ปลูกจากธัญพืชซึ่งมักจะได้ราคาต่ำ  เพราะรัฐบาลก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมราคามาเป็นพืชเศรษฐกิจประเภทอื่นที่ราคาสูงกว่า  แต่ก็ยังมีชาวนาอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีทางที่จะขยับขยายตัวให้อยู่ในสถานะที่ดีขึ้นได้  อาจแย่ลงด้วยซ้ำ  แล้วก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะอิธรณ์ฎีกากับใคร  ถึงจะมีคนแบบจิตรที่พยายามใช้จินตนาการสะท้อนความในใจออกมาสะกิดใจคนอื่นบ้าง  แต่ปัญหาก็ยังไม่หมดไป

หลายปีมาแล้วข้าพเจ้าอ่านพบบทกวีจีนบทหนึ่ง  ผู้แต่งชื่อหลี่เชิน  ชาวเมืองอู่ซี  มีชีวิตอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 772 ถึง 846  สมัยราชวงศ์ถัง  ท่านหลี่เชินได้บรรยายความในใจไว้เป็นบทกวีภาษาจีน  ข้าพเจ้าจะพยายามแปลด้วยภาษาที่ขรุขระไม่เป็นวรรณศิลป์เหมือนบทกวีของ  จิตร ภูมิศักดิ์

                                                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                                       เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

               กวีผู้นี้รับราชการมีตำแหน่งเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในชนบท  ฉะนั้นเป็นไปได้ที่เขาจะได้เห็นความเป็นอยู่ของราษฎรชาวไร่ชาวนาในยุคนั้น  และเกิดความสะเทือนใจจึงได้บรรยายความรู้สึกออกเป็นบทกวีที่เขาให้ชื่อว่า  “ประเพณีดั้งเดิม”  บทกวีของหลี่เชินเรียบ ๆ ง่าย ๆ แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน  แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร
               เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง
               เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป  ตั้งแต่สมัยหลี่เชินเมื่อพันปีกว่า  สมัยจิตร  ภูมิศักดิ์เมื่อ 30 กว่าปีที่แล้ว  สมัยที่ข้าพเจ้าได้เห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก  ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็ยังคงจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป

คำศัพท์
          กำซาบ                             ซึมเข้าไป
          เขียวคาว                           สีเขียวของข้าว  ซึ่งน่าจะหอมสดชื่นกลับมีกลิ่นเหม็นคาว  เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อ  ซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความชมชื่นของชาวนา
          จิตร ภูมิศักดิ์                      นักเขียนชื่อดังของไทยในช่วง พ.ศ. 2473 – 2509  ที่มีผลงานสำคัญในด้านประวัติศาสตร์  โบราณคดี  ภาษา  และวรรณคดี
          จำนำพืชผลเกษตร             การนำผลผลิตทางการเกษตร  เช่น  ข้าวไปฝากกับหน่วยงานที่รับฝากไว้ก่อนเพื่อเอาเงินในอนาคตมาใช้ก่อน
          ฎีกา                                   คำร้องทุกข์  การร้องทุกข์
          ธัญพืช                               มาจากภาษาบาลีว่า  ธญฺญพืช  เช่น  ข้าว  ข้าวสาลี  ข้าวโพด  ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
          นิสิต                                  ผู้ที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย
          ประกันราคา                       การที่รัฐ  เอกชน  หรือองค์กรต่าง ๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่กำหนดไว้ในอนาคต  ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม
          เปิบ                                   หรือ  เปิบข้าว  หมายถึง  วิธีการใช้ปลายนิ้วขยุ้มข้าวใส่ปากตนเอง
          พืชเศรษฐกิจ                     พืชที่สามารถขายได้ราคาดี  พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย  เช่น  ข้าว  ยางพารา  อ้อย  ปาล์มน้ำมัน
          ภาคบริการ                        อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น  เช่น  พนักงานในร้านอาหาร  ช่างเสริมสวย
          ลำเลิก                              กล่าวทวงบุญคุณ  กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า  โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง  เพื่อให้สำนึกบุญคุณที่ตนมีอยู่กับผู้นั้น
          วรรณศิลป์                         ศิลปะในการประพันธ์หนังสือ
          สวัสดิการ                          การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย  เช่น  มีสถานพยาบาล  มีที่พักอาศัย  จัดรถรับส่ง
          สู                                       สรรพนามบุรุษที่ 2  เป็นคำโบราณ
          อาจิณ                               ประจำ
          อุทธรณ์                             ร้องเรียน  ร้องทุกข์

วิเคราะห์คุณค่าวรรณคดี
          คุณค่าด้านเนื้อหา
          กลวิธีการแต่ง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความที่สามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้  ด้วยแสดงให้เห็นแนวความคิดชัดเจน  ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่าย  และมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน  คือ
          ส่วนนำ  กล่าวถึงบทกวีของจิตร  ภูมิศักดิ์  ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
          เนื้อเรื่อง  วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  และองหลี่เชิน  โดยทรงยกเหตุผลต่าง ๆ และทรงแสดงทัศนะประกอบ  เช่น
          “…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริง ๆ นั้น  ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ “ลำเลิก”  กับใคร ๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา  คนอื่น ๆ จะเอาอะไรกิน…”
          ส่วนสรุป  สรุปความเพียงสั้น ๆ แต่ลึกซึ้ง  ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา  ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหาเช่นนี้  ดังความที่ว่า
          “ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ  เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงยังจะเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”
          สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรียบเทียบแก่ผู้อ่าน  โดยทรงใช้การเปรียบเทียบการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน  ว่า
          “เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน  คือ  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง”

                                                       หว่านข้าวในฤดูใบไม้ผลิ  ข้าวเมล็ดหนึ่ง
                                                       จะกลายเป็นหมื่นเมล็ดในฤดูใบไม้ร่วง
                                                       รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง
                                                       แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
                                                       ตอนอาทิตย์เที่ยงวัน  ชาวนายังพรวนดิน
                                                       เหงื่อหยดบนดินภายใต้ต้นข้าว
                                                       ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น
                                                       ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส

                                                            เปิบข้าวทุกคราวคำ                      จงสูจำเป็นอาจิณ
                                                       เหงื่อกูที่สูกิน                                      จึงก่อเกิดมาเป็นคน
                                                           ข้าวนี้น่ะมีรส                                   ให้ชนชิมทุกชั้นชน
                                                       เบื้องหลังสิทุกข์ทน                            และขมขื่นจนเขียวคาว
                                                           จากแรงมาเป็นรวง                          ระยะทางนั้นเหยียดยาว
                                                       จากกรวงเป็นเม็ดพราว                        ส่วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
                                                           เหงื่อหยดสักกี่หยาด                       ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น
                                                       ปูดโปนกี่เส้นเอ็น                                 จึงแปรรวงมาเปิบกิน
                                                           น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง                            และน้ำแรงอันหลั่งริน
                                                       สายเลือดกูท้งสิ้น                                ที่สูชดกำชาบฟัน

          บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย  แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน  คือ  แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก  ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต  คือ  ชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์  ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยายเรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเอง  อย่างไรก็ตามแนวคิดของกวีทั้งสองคนคล้ายคลึงกัน  คือ  ต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยต้องประสบกับความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน
          สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท  มีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น  พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์  สอดคล้องกับบทวีของหลี่เชิน กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง  แสดงให้เห็นว่าสภาพชีวิตองชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลกจะเป็นไทยหรือจีน  จะเป็นสมัยใดก็ตาม  ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน
          ดังนั้นแนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  จึงอยู่ที่ความทุกข์ยากของชาวนา  และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอดังความที่ว่า
          “…แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้ให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี  แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ของผู้ผลิตเท่าที่ควร…”
          แม้ว่าในบทความนี้จะไม่ได้มีการเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา  แต่แนวคิดของเรื่องที่แจ่มแจ้งและชัดเจนดังที่กล่าวมาจะมีผลให้สังคมหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประจักษ์และตระหนักถึงความสำคัญของชาวนา  และเล็งเห็นปัญหาต่าง ๆ อันอาจจะนำไปสู่การแสวงหาหนทางแก้ไขในท้ายที่สุด

          พระราชนิพนธ์  เรื่อง  ทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงให้เห็นถึงความเข้าพระทัยและเอาพระทัยใส่ในปัญหาการดำรงชีวิตของชาวนาไทย  ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงพระเมตตา  อันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่ทรงมีต่อชาวนาผู้มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลัก  เริ่มชีวิตและการทำงานตั้งแต่เช้าจรดค่ำ  ทำงานแบบหลังสู้ฟ้า  หน้าสู้ดิน  ตลอดทั้งปี  ดังนั้นในฐานะผู้บริโภค  จึงควรสำนึกในคุณค่าและความหมายของชาวนาที่ปลูก “ข้าว” อันเป็นอาหารหลักเพื่อการมีชีวิตอยู่รอดของคนไทย

http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=11900&mul_source_id=021446

 

สำหรับทบทวนและเด็กที่ซ่อมไทย

เฉลยแบบทดสอบเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม 

๑. แก่นของเรื่องหัวใจชายหนุ่มตรงกับข้อใด

     ก. บรรยากาศของสังคมไทยในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

     ข. อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกในสังคมไทย

     ค. เราควรเลือกรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไร

     ง. ชี้ให้เห็นปัญหาของสังคมไทยในการรับวัฒนธรรมตะวันตกอย่างไม่ถูกต้อง จะส่งผลร้ายอย่างไรบ้าง*

๒. “จดหมายเหล่านี้  ข้าพเจ้าได้เลือกคัดแต่ฉบับที่มีเรื่องน่าอ่านสำหรับสาธารณชนมารวบรวมไว้

     เพื่อผู้อ่านหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิตจะได้อ่านทราบความเห็นและความเป็นไปของคนหนุ่มไทย

     ผู้หนึ่งซึ่งข้าพเจ้าจำเป็นต้องขออภัยในการที่จะไม่แสดงให้ท่านทราบ” 

      ข้อความที่ยกมานี้เป็นส่วนใดของเรื่องหัวใจชายหนุ่ม

      ก. จดหมายจริง                      ข.  นิยาม                        ค. นำเรื่อง*                     ง.  วิเคราะห์

๓.  คำใดที่ผู้แต่งชี้แนะให้เห็นว่าเป็นสาวไทยเชื้อสายจีนที่ตัวละครไม่ถูกใจ

      ก. แม่กิมเน้ย                         ข. ซุนฮูหยิน*                  ค. แม่อุไร                       ง. นางสาวศรีสมาน

๔. ข้อใดแสดงให้เห็นชัดเจนว่า  นายประพันธ์  ประยูรสิริ  เป็นคนหนุ่ม “หัวนอก” ชัดเจนที่สุด

     ก. รักพ่อแม่หรือญาติพี่น้องก็ผิดกับการรักลูกรักเมียจริงไหม

     ข. การรักเมืองไทยเปรียบเหมือนรักพ่อแม่  แต่การรักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย*

     ค. แล้วก็เมื่อต้องจากเมืองอังกฤษมาเมืองไทย  จะไม่ให้ฉันอาลัยได้หรือ

     ง. การคุยกับคนแก่ครึอย่างพ่อแม่ก็คงไม่ออกรสเท่ากับคุยกับหนุ่มๆ สาวๆ จริงไหม

๕. ข้อใดเป็นความเปรียบเทียบที่ไม่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ

  ก. คุณพ่อคุณแม่สรรเสริญเยินยอมากว่าเป็นคนดีนัก วิเศษต่างๆ ราวกับนางฟ้าตกลงมาจากสวรรค์*

  ข.  ฉันหวังใจว่าหน้าเจ้าหล่อนจะไม่เป็นนางงิ้วตุ้งแช่อะไรตัว ๑

  ค. คุณพ่อได้พาฉันไปดูตัวแม่กิมเน้ยแล้ว  หน้าตาเจ้าหล่อนเหมือนนางซุนฮูหยินหลังตาชั้นเดียว

  ง. แต่แต่งตัวเครื่องเพชรมากเหลือเกิน  มีอะไรต่อมิอะไรห้อยแขวน และติดพะรุงพะรังไปทั้งตัว

      จนดูราวกับต้นไม้คริสต์มาส

๖.  “ผู้หญิงที่มักเก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน  ขี้อาย  ไม่รู้จักเข้าสังคม”  ใช้สำนวนว่าอย่างไร

      ก.  ซุนฮูหยินออกฉิวค้อนเสียสามสี่วง                              ข.  เมฆทุกก้อนมีซับในเป็นเงิน

      ค. ทำตัวเป็นห้อยจุ๊บแจง*                                             ง.  นางสุวิญชาของพระยาตระเวน

๗.  “เมื่อเจ้าได้ไปชิงสุกก่อนห่ามเสียเช่นนั้นแล้ว  พ่อก็สิ้นพูด”  

     “ชิงสุกก่อนห่าม”  มีความหมายตรงกับข้อใด

      ก. ทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัย หรือยังไม่ถึงเวลา*    ข. ทำความชั่วที่ปิดไม่ได้

      ค. ตั้งใจทำอะไรที่ไม่ถูกวิธี                                            ง. ตั้งใจทำในสิ่งที่ขัดต่อขนบวัฒนธรรม

๘.  “บ้านนั้นเขาใช้คำเรียกกันว่า  โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้”  ข้อความนี้ ผู้พูดกล่าวด้วยความรู้สึกอย่างไร

      ก.  ไม่พอใจ              ข.  เสียดสี*                    ค.  เหยียดหยาม              ง.  ตำหนิ

๙. สุภาษิตอังกฤษว่า  “ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย”  มีความหมายตรงกับข้อใด

     ก. แม้จะไม่ได้สิ่งใดอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่มีอยู่บ้างก็ยังดีกว่าไม่มีเลย*

     ข. กินอย่างอดอยากดีกว่าไม่ได้กินอะไรเลย

     ค. กินอะไรต้องอย่างให้หมด  ต้องเผื่อไว้เวลาไม่มีอะไรกิน

     ง. ยามไม่มีอะไรกิน  ขนมปังแม้เพียงครึ่งก้อนก็ยังดีกว่าไม่มี

๑๐.  “ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไร”  ตรงกับสำนวนไทยว่าอย่างไร

     ก. ก่อแล้วต้องสาน                                           ข. กินแกลบกินรำ

     ค. กำขี้ดีกว่ากำตด*                                         ง. กินตามน้ำ

  1. ใครเป็นผู้แต่งเรื่องหัวใจชายหนุ่ม – หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงใช้นามปากกาว่า “รามจิตติ”
  2. ลักษณะการพระราชนิพนธ์ของเรื่องเป็นอย่างไร – เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบจดหมาย รวม 18 ฉบับ
  3. หัวใจชายหนุ่มในเรื่องนี้หมายถึงอะไร – หัวใจชายหนุ่ม  หมายถึง ความรู้สึก  ความคิด  ทัศนะและอารมณ์ของคนวัยหนุ่ม  เมื่อ ผ่านพ้นวัยนี้ไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา 
  4. ใจความสำคัญ ของเรื่องคืออะไร –  การรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดีงามของไทย และรู้จักเลือกวัฒนธรรมตะวันตกมาปรับใช้ให้เหมาะสม
  5. คุณค่าด้านเนื้อเรื่องคืออะไร –  หัวใจชายหนุ่มเป็นเรื่องที่แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถในงานพระราชนิพนธ์  มีแก่นเรื่องชัดเจน   น่าอ่าน  น่าติดตาม  สนุกด้วยลีลาและโวหารอันเฉียบคม  แฝงพระอารมณ์ขัน มีการสร้างตัวละครได้อย่างสมจริง แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งสิ่งที่ถูกต้องและผิดพลาด และมีทั้งความสมควรและไม่สมควร  เช่น การแต่งกายของกิมเน้ยที่แต่งตัวดีแต่มีเครื่องเพชรมากเกินไป
  6. คุณค่าด้านความคิดคืออะไร –  เรื่องหัวใจชายหนุ่มมุ่งเสนอให้ผู้อ่านเห็นว่า นักเรียนนอกในสมัยนั้นเป็นผู้นำ “แฟแช่น” อย่างสุดโต่ง เมื่อปฏิบัติไปแล้วผิดพลาดก็ค้นพบตัวเองว่าต้องหาทางเลือกใหม่ที่เหมาะสม  ทำให้ได้คิดว่า  เราควรรับและปรับใช้ให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
  7. ข้อคิดคติธรรมที่ได้จากเรื่อง
    1. พฤติกรรมของนายประพันธ์เป็นพฤติกรรมที่เลียนแบบพฤติกรรมของปุถุชนที่มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งความถูกต้องและผิดพลาด เปรียบเสมือนกับมนุษย์ที่สามารถผิดพลาดได้ตลอดเวลา แต่อย่าลืมนำความผิดพลาดนั้นมาใช้ในการแก้ไขตนเอง และปรับทัศนคติที่ผิดอยู่ให้ดีขึ้น จนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุขต่อไป
    2. อย่าหลงวัฒนธรรมตะวันตกจนลืมจิตสำนึกแห่งความเป็นไทย ควรเก็บสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ แล้วเก็บสิ่งที่ไม่ดีไว้เป็นอุทาหรณ์ ขณะเดียวกันก็อย่าดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนว่าหัวโบราณ เก่าคร่ำครึ เพราะวัฒนธรรมที่ดีงามของไทยนี้แลจึงสามารถจรรโลงประเทศให้อยู่ได้มาสืบทุกวันนี้
    3. การแต่งงานของหนุ่มสาวที่มาจากการชอบพอกันแค่เพียงเปลือกนอก ขาดการรู้จักและเข้าใจกันอย่างแท้จริงย่อมไม่ยั่งยืนและอับปางลงอย่างง่ายดาย เช่นกรณีของประพันธ์ และแม่อุไรที่รักเร็วใจเร็ว ทำให้ความรักนั้นจบลงในเวลาอันสั้น
    4. การใช้เสรีภาพในทางที่ผิดโดยปล่อยเนื้อปล่อยตัวจนกระทั่งพลาดพลั้งชิงสุกก่อนห่ามจะต้องประสบชะตากรรมอันเลวร้าย ดังแม่อุไรที่ปล่อยตัวได้เสียกับประพันธ์ทำให้ไม่เป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย นำไปสู่การหย่าร้างกันวันข้างหน้า
    5. คนเราควรดำเนินชีวิตในทางยุติธรรม ดังเช่นประพันธ์ เขาไม่ชอบการใช้เส้นสาย แต่ไม่สามารถหางานได้ด้วยตนเอง จึงต้องยอมรับงานที่ผู้ใหญ่ฝากฝังให้ แต่ก็ได้ใช้ความสามารถของตนเองทำให้มีความก้าวหน้าในราชการ ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงบริบาลบรมศักดิ์ในที่สุด

 

ความทุกข์ของชาวนาในบทกวี

  1. ข้อใดไม่ใช่นามปากกาของผู้เขียนเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
  1.  
    1.   ?    แว่นแก้ว
    2.   ?    หนูน้อย
    3.   ?    บันดาล
    4.    🙂    ก้อนกรวด
  1. ข้อใดเป็นบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี
  1.  
    1. 🙂  แก้วจอมแก่น
    2.   ?    เที่ยวเมืองพระร่วง
    3.   ?    นิราศลอนดอน
    4.   ?    นมัสการอาจารยคุณ
  1. เปิบข้าวทุกคราวคำ จงสูจำเป็นอาจิณ    เหงื่อกูที่สูกิน จึงก่อเกิดมาเป็นคน”  คำว่า”กู”หมายถึงไคร
  1.  
    1. X  ผู้แต่ง
    2. 🙂  ชาวนา
    3.   ?    จิตร ภูมิศักดิ์
    4.   ?    หลี่เซิน
  1. “น้ำเหงื่อที่เรื่อแดง และน้ำแรงอันหลั่งริน   สาบเลือดกูทั้งสิ้น ที่สูซดกำซาบฟัน”    คำว่า”สู”หมายถึงไคร
  1.  
    1. X  ผู้แต่ง
    2. X  จิตร ภูมิศักดิ์
    3. X  ชาวนา
    4.   ?    ทุกคนที่รับประทานข้าว
  1. คำว่า”ลำเลิก”หมายความว่าอย่างไร
  1.  
    1. 🙂  ทวงบุญคุณ
    2.   ?    ยุติ
    3.   ?    รวงข้าว
    4.   ?    เรือ
  1. เรื่องทุกของชาวนาในบทกวีมีองค์ประกอบทั้งหมดกี่ส่วน อะไรบ้าง
  1.  
    1. X  ๒ ส่วน ได้แก่ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
    2. 🙂  ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
    3.   ?    ๔ ส่วน ได้แก่ ส่วนนำ ส่วนกลาง ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
    4.   ?    ๕ ส่วน ได้แก่ ส่วนเริ่มต้น ส่วนนำ ส่วนกลาง ส่วนเนื้อหา และส่วนสรุป
  1. บทพระราชนิพนธ์เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวีมีแนวคิดสำคัญคือข้อใด
  1.  
    1. X  ภาพของชาวนา
    2. X  การแก้ปัญหาราคาข้าว
    3. 🙂  ชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา
    4.   ?    วิธีช่วยเหลือชาวนาให้พ้นทุกข์
  1. “เวลานี้สภาพบ้านเมืองก็เปลี่ยนไป ตั้งแต่สมัยหลี่เซินเมื่อพันปีกว่า สมัยจิตร ภูมิศักดิ์ เมื่อ ๓๐ กว่าปีที่แล้ว สมัยที่ข้าพเจ้าเห็นเองก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันนัก”ข้อข้างต้นหมายถึงอะไร
  1.  
    1. X  มีผู้แต่งกวีเกี่ยวกับความทุกข์ของชาวนาเพิ่มขึ้น
    2. 🙂  ชาวนายังคงมีชีวิตความเป็นอยู่ทุกข์ยากดังเดิม
    3.   ?    รัฐบาลให้ความช่วยเหลือชาวนา
    4.   ?    มีผู้รับประทานข้าวน้อย
  1. ความเหมือนของบมกวี “เปิบข้าว” และ “ประเพณีดั้งเดิม” คือข้อใด
  1.  
    1. 🙂  สะท้อนวิถีชีวิตและความทุกข์ของชาวนา
    2.   ?    สะท้อนภาพความงามของรวงข้าวและทุ่งนา
    3.   ?    สะท้อนภาพชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง
    4.   ?    สะท้อนภาพรายได้ของชาวนา
  1. “ใครจะรู้บ้างว่าในจานใบนั้น ข้าวแต่ละเม็ดคือความยากแค้นแสนสาหัส”   ข้อความใดตรงกับข้อความข้างต้นมากที่สุด
  1.  
    1. X  ข้าวนี้น่ะมีรส ให้ชนชิมทุกชนชั้น    เบื้องหลังสิทุกข์ทน และขมขื่นจนเขียวคาว
    2. X  จากแรงมาเป็นรวง ระยะทางนั้นเหยียดยาว     จากรวงเป็นเม็ดพลาว ล้วนทุกข์ยากลำเค็ญเข็ญ
    3. X  เหงื่อหยดสักกี่หยาด ทุกหยดหยาดล้วนยากเย็น      ปูดโปนกี่เส้นเอ็น จึงแปรรวงมาเปิบกิน
    4.   ?    ถูกทุกข้อ

 

11.  ใครเป็นผู้แต่ง เรื่อง  “ทุกข์ของชาวนาในบทกวี”  – พระราชนิพนธ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี 

12.  ที่มาของเรื่อง  ชวนคิดพิจิตรภาษา  ในหนังสือมณีพลอยร้อยแสง

13.  จุดมุ่งหมาย  เพื่อแสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน ที่กล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนา

14. 
ลักษณะคำประพันธ์ :  ร้อยแก้วประเภทเรียงความ โดยใช้บรรยายโวหาร – สาธกโวหาร (ยกตัวอย่างบทกวีของ จิตร ภูมิศักดิ์  ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี 11 จำนวน 5 บท )
สาระสำคัญโดยสรุป   เนื้อความแสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนาและยังสะท้อนพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา ทรงนำบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์มาวิเคราะห์ เกี่ยวกับความยากลำบาบของชาวนาไทย และทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้เห็นภาพชีวิตชองชาวนาไทยและชาวนาจีน ไม่ได้มีความแตกต่างกันเท่าใดนัก

15.  ทุกข์ของชาวนา คือเรื่องใด – สภาพชีวิตองชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลกจะเป็นไทยหรือจีน  จะเป็นสมัยใดก็ตาม  ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกันในเรื่องความทุกข์ลำบากของชาวนาในการปลูกข้าว และสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ

16.  วิธีนำเสนอของกวีไทยกับกวีจีนแตกต่างกันอย่างไร  –  หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม  ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านได้ฟังด้วยตนเอง

  1. จากบทพระราชนิพนธ์ที่ว่า  “บทกวีนิพนธ์ของหลี่เชิน   บรรยายภาพเรียบง่าย  แต่ก็แสดงความขัดแย้งชัดเจน”  ความขัดแย้งในที่นี้หมายถึงอะไร – ความขัดแย้งของชาวนาที่ปลูกข้าวมากมาย จนไม่มีที่นาว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย
  2. จากข้อบนเป็นโวหารชนิดใด – โวหารปฏิพากย์ คือ แสดงความขัดแย้ง เช่น รอบข้างไม่มีนาที่ไหนทิ้งว่าง แต่ชาวนาก็ยังอดตาย แม้ว่าสภาพบ้านเมืองในเวลานี้จะเปลี่ยนแปลงไปมาก แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างมากนัก เรื่องความทุกข์ของชาวนายังคงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจต่อไป

19.  การกล่าวเปรียบเทียบทุกข์ของชาวนาโดยเปรียบเทียบกับบทกวีของ จิต ภูมิศักดิ์ กับ ของ หลี่เซิน

20.                                    ความแตกต่างของจิต     กับ    หลี่เซิน

แต่งบทเปิบข้าว แต่งเรื่องประเพณีดั้งเดิม
เป็นกาพย์ยานี 11 เป็นกลอนเปล่า
แต่งเมื่อ30ปีมาแล้ว แต่งเมื่อ1000ปีมาแล้ว
เขียนในลักษณะที่ชาวนาเล่าเรื่อง ลักษณะจิตรกรวาดภาพให้คนชม
จิตเป็นนักวิชาการ นักเขียน หลี่เซินเป็นข้าราชการ

21.  จุดมุ่งหมายของการแต่ง

1.ให้คนไทยมองเห็นมิติใหม่แก่งคุณค่าภาษาไทย

2.ให้คนไทยได้รู้ถึงความหมายอันลึกซึ้งของภาษาในฐานะที่วัฒนธรรมเปลี่ยนไปตามเวลา

3.ทำเราเราได้ทราบว่าถึงแม้เวลาจะเปลี่ยนไปเป็นกวีคอมพิวเตอร์หรือข้าวเม็ด ชาวนาก็ยังคงเดือดร้อนอยู่ ยังคงทุกข์อยู่เหมือนเดิม ทำเราเรามองชาวนาว่าน่าสงสาร

แบบทดสอบเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี (อันนี่ไม่มีเฉลยต้องทำเองในเวปแล้วตรวจคะแนน)

ส่วนบนของฟอร์ม

 ๑) เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี  แสดงแนวพระราชดำริเกี่ยวกับบทกวีไทยและบทกวีจีน   ส่วนที่สำคัญที่สุด   อย่างไร
   
 ก. ทรงชี้ให้เห็นกลวิธีนำเสนอของกวีทั้งสอง  ที่แตกต่างกัน  
 ข. กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา  
 ค. สะท้อนให้เห็นพระเมตตาธรรมอันเปี่ยมล้นของพระองค์ที่มีต่อชาวนา  
 ง. แสดงถึงความเข้าพระทัยปัญหาต่างๆ ของชาวนา  

 

 ๒) สิ่งที่นักเรียนควรศึกษาและพิจารณา   ในการอ่านเรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
   
 ก. แนวความคิดที่แจ่มแจ้งชัดเจน  
 ข. กลวิธีการนำเสนอ  
 ค. ลำดับความให้ผู้อ่านเข้าใจได้สะดวก  
 ง. การใช้ถ้อยคำและการผูกประโยค  

 

 ๓) สรรพนามในบทกวี ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์  ที่ใช้ว่า “กู”   แสดงว่าผู้ที่พูดคือใคร
   
 ก. ผู้เขียน  
 ข. ชาวนา  
 ค. ผู้อ่าน  
 ง. ไม่เฉพาะว่าใคร  

 

 ๔) ชื่อกวีจีนที่ปรากฏในบทพระราชนิพนธ์  เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี   คือใคร
   
 ก. ถัง  
 ข. อู่ซี่  
 ค. หลี่เชิน  
 ง. ณ้อปาอ๋อง  

 

 ๕) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหาบทกวีจีน   คือวิธีใด
   
 ก. บรรยายให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวนาในยุคนั้น  
 ข. เสมือนกับนำชาวนามาบรรยาย เรื่องของตนให้ผู้อ่านฟัง  
 ค. บรรยายความรู้สึกอันเกิดจากความสะเทือนใจ  ออกเป็นบทกวี  
 ง. บรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  

 

 ๖) เทคนิคในการนำเสนอเนื้อหาบทกวีไทย   คือวิธีใด
   
 ก. บรรยายให้เห็นความเป็นอยู่ของชาวนาในยุคนั้น  
 ข. เสมือนกับนำชาวนามาบรรยาย เรื่องของตนให้ผู้อ่านฟัง  
 ค. บรรยายความรู้สึกอันเกิดจากความสะเทือนใจ  ออกเป็นบทกวี  
 ง. บรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภาพให้คนชม  

 

๗) เมื่ออ่านบทพระราชนิพนธ์ เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี  จบลง   พอสรุปได้ว่ากวีไทยกับกวีจีน
   
 ก. ร่วมสมัยกัน  
 ข. อยู่คนละสมัยกัน  
 ค. อายุรุ่นราวคราวเดียวกัน  
 ง. เป็นมิตรกัน  

 

 ๘) “เมื่อครั้งเป็นนิสิต  ข้าพเจ้าได้เคยอ่านผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์  อยู่บ้าง   แต่ก็ไม่ได้ศึกษาอย่างละเอียด  หรือวิเคราะห์อะไร… ”  น่าจะเป็นช่วงใดของบทพระราชนิพนธ์   เรื่องทุกข์ของชาวนาในบทกวี
   
 ก. ช่วงความนำ  
 ข. ช่วงเนื้อเรื่อง  
 ค. ช่วงความลงท้าย  
 ง. ช่วงสรุป  

 

 ๙) สารสำคัญของบทกวีทั้งสอง   มีส่วนเหมือนกัน   คือข้อใด
   
 ก. วิธีการนำเสนอ  
 ข. สะท้อนให้เห็นเมตตาธรรม  ที่มีต่อชาวนา  
 ค. แสดงถึงความเข้าใจปัญหาต่างๆ ของชาวนา  
 ง. กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา  

 

๑๐) สารสำคัญของบทกวีทั้งสอง   มีส่วนต่างกันอย่างไร
   
 ก. วิธีการนำเสนอ  
 ข. สะท้อนให้เห็นเมตตาธรรม  ที่มีต่อชาวนา  
 ค. แสดงถึงความเข้าใจปัญหาต่างๆ ของชาวนา  
 ง. กล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา  

ส่วนล่างของฟอร์ม

ส่วนบนของฟอร์ม

http://www.jd.in.th/e_learning/th41102/pan41102-01/pre_pro/popquiz.htm

มงคลสูตรคำฉันท์

  1. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับลักษณะคำประพันธ์ที่ใช้แต่งมงคลสูตรคำฉันท์
  2. X  มงคลสูตรคำฉันท์แต่งโดยใช้กาพย์ฉบัง ๑๖ และวสันตดิลกฉันท์
  3. X  วสันตดิลกฉันท์ ใช้บรรยายเรื่องและเมื่อกล่าวถึงมงคลสูตรทั้ง ๓๘ ข้อจนจบเรื่อง
  4. 🙂  กาพย์ฉบัง ๑๖ ใช้ดำเนินเรื่องเมื่อกล่าวถึงพระอานนท์เล่าว่ามีเทวดามาขอให้พระพุทธเจ้าตรัสเล่ามงคลสูตร
  5.   ?    อินทรวิเชียรฉันท์ใช้ดำเนินเรื่องเมื่อกล่าวถึงพระอานนท์เล่าว่ามีเทวดามาขอให้พระพุทธเจ้าตรัสเล่ามงคลสูตร
  1. มงคลสูตร ๓๘ ประการปรากฏอยู่ในส่วนใดของพระไตรปิฎก
  1.  
    1. X  พระวินัยปิฎก
    2. 🙂  พระสุตันตปิฎก
    3.   ?    พระอภิธรรมปิฎก
    4.   ?    พระธรรมปิฎก
  1. ใครเป็นผู้ทูลถามพระพุทธเจ้าเรื่องมงคล
  1.  
    1. X  ปัญจวัคคีย์
    2. X  พระอานนท์
    3. X  อสูร
    4.   ?    เทวดา
  1. ใครเป็นผู้สดับเรื่องมงคลจากพระพุทธเจ้า
  1.  
    1. X  ปัญจวัคคีย์
    2. 🙂  พระอานนท์
    3.   ?    อสูร
    4.   ?    เทวดา
  1. ข้อใดคือมงคลข้อแรก
  1.  
    1. 🙂  ไม่คบคนพาล
    2.   ?    คบบัณฑิต
    3.   ?    บูชาผู้ที่ควรบูชา
    4.   ?    งดเว้นจากบาป
  1. ข้อใดกล่าวถึงศีลห้า
  1.  
    1. 🙂  ความได้สดับมาก และกำหนดสุวาที
    2.   ?    อีกหนึ่งวินัยอัน นรเรียนและเชี่ยวชาญ
    3.   ?    การงานกระทำไป บ่มิยุ่งและสับสน
    4.   ?    อีกสงเคราะห์ญาติที่ ปฏิบัติบำเรอตน
  1. ข้อใดเป็นผลจากการปฏิบัติมงคลทั้ง ๓๘ ประการ
  1.  
    1. X  อีกหมั่นพฤติควร ณ สภาวะแห่งตน
    2. X  อีกหนึ่งมิได้มี จะกระด้างและจองหอง
    3. 🙂  ไร้โศกธุรีสูญ และสบายบ่มัวมล
    4.   ?    เพียรเผากิเลศล้าง มละโทษะยายี
  1. คำประพันธ์นี้หมายถึงใคร
    แสงกายเธอปลั่งยังเขต สวนแห่งเจ้าเชต
    สว่างกระจ่างทั่วไป
  1.  
    1. X  พระพุทธเจ้า
    2. X  พระอานนท์
    3. X  เจ้าเชต
  1. ข้อใดคือมงคลข้อสุดท้าย
  1.  
    1. X  มีจิตไม่หวั่นไหว
    2. X  มีจิตไม่โศกเศร้า
    3. X  มีจิตปราศจากธุลี
    4.   ?    มีจิตเกษม
    5.   ?    เทวดา
  1. ข้อใดคือมงคลข้อสุดท้าย
  1.  
    1. X  มีจิตไม่หวั่นไหว
    2. X  มีจิตไม่โศกเศร้า
    3. X  มีจิตปราศจากธุลี
    4.   ?    มีจิตเกษม

http://202.129.0.134/courses/315/51thM4-TPs080202.htm

คำถาม: 91. คำประพันธ์ต่อไปนี้มีความหมายตรงกับข้อใด คำยอยกย่อมเที้ยร ทุกประการ พักตร์จิตผิดกันประมาณ ยากรู้ (1 คะแนน)
A. หน้าซื่อใจคด
B. ยกยอปอปั้น
C. รู้หน้าไม่รู้ใจ – รู้หน้าไม่รู้ใจ คำยอยกย่อมเที้ยร ทุกประการ พักตร์จิตผิดกันประมาณ ยากรู้ “คำพูดยกยอปอปั้น ยังเชื่อไม่ได้ เพราะหน้าและใจอาจจะไม่ตรงกัน ซึ่งยากที่จะรู้ได้”
D. ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ

คำถาม: 92. เหตุผลของสมเด็จพระวันรัตวัดป่าแก้วข้อใดที่ทำให้สมเด็จพระนเรศวรทรงงดโทษ ประหารชีวิตแก่เหล่าทหาร (1 คะแนน)
A. ไว้เพื่อผดุงเดชเจ้า จอมปราณ
B. ก่อเกิดราชรำบาญ ใหม่แม้
C. พูนเพิ่มพระสมภาร เพ็ญภพ พระ
D. วายบ่หวังตนแก้ ชอบได้ไป่มี – ตายไป ก็ไม่อาจทำความชอบไถ่โทษได้

 

คำถาม: 93. มงคลสูตรคำฉันท์มีที่มาจากพระสุตตันตปิฏกหมวดใด (1 คะแนน)
A. ทีฆนิกาย
B. มัชฌิมนิกาย
C. อังคุตตรนิกาย
D. ขุททกนิกาย – ขุททกนิกาย

คำถาม: 94. ข้อความนี้มีความหมายตรงกับข้อใด “โดยจะพิจารณาว่าความเก่า รูปความงามข้างเจ้าอยู่เหลือหลาย” (1 คะแนน)
A. คดีความของขุนแผนมีพยานมาก
B. คดีความของขุนแผนได้เปรียบกว่า – คดีความของขุนแผนได้เปรียบกว่า
C. คดีความของขุนแผนมีหลายคดี
D. คดีความของขุนแผนได้เปรียบเพราะขุนแผนรูปงามกว่า

 

คำถาม: 95. ใครเป็นผู้กล่าวข้อความต่อไปนี้ “ภิกขุเว ดูกรสงฆ์ผู้ทรงศีลสังวรวินัย ปางเมื่อสมเด็จกรุงสญชัยอัยกาธิราช ท้าวเธอไถ่พระภาคิไนยนาถแล้วมิช้า” (1 คะแนน)
A. พระอานนท์
B. พระเวสสันดร
C. พระพุทธเจ้า – พระพุทธเจ้าเป็นผู้ทรงเทศนาเรื่องเวสสันดรชาดกให้แก่ภิกษุ 500 รูปที่ติดตามพระองค์ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์
D. พระสารีบุตร

 

คำถาม: 96. ข้อความต่อไปนี้เกี่ยวข้องกับวรรณคดีเรื่องใด องค์พระเพชรปาณีท้าวตรีเนตร เสียพระเวทผูกทวารกรุงพานถนอม สุจิตราลาตายไม่วายตรอม ล้วนเจิมจอมธรณีทั้งสี่องค์ (1 คะแนน)
A. สังข์ทอง
B. อุณรุท – อุณรุท
C. สุวรรณหงส์
D. ท้าวแสนปม

 

คำถาม: 97. ในนิทานเวตาล พระวิกรมมาทิตย์ตัดสินว่าพราหมณ์คนที่ 2 ซึ่งเก็บเถ้ากระดูกของ นางมธุมาลตีไว้นั้น ควรได้เป็นสามีของนางด้วยเงื่อนไขใด (1 คะแนน)
A. การพิเคราะห์อุปนิสัยของพราหมณ์คนใดว่าสอดคล้องกับนางมากที่สุด
B. การพิจารณาความรับผิดชอบว่าพราหมณ์ผู้ใดสามารถเลี้ยงดูเธอต่อไปได้
C. การเปรียบเทียบบทบาทของพราหมณ์แต่ละคนกับเงื่อนไขทางสังคมในขณะนั้น – การเปรียบเทียบบทบาทของพราหมณ์แต่ละคนกับเงื่อนไขทาง สังคมในขณะนั้น
D. การวัดความรู้ความสามารถของพราหมณ์ทั้ง 3 คน ประกอบกับบทบาทในการชุบชีวิตนาง

 

คำถาม: 98. พระพุทธรูปซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดพระเชุตพนคือองค์ใด (1 คะแนน)
A. พระนาคปรก
B. พระพุทธไสยาสน์
C. พระพุทธเทวปฏิมากร – พระพุทธเทวปฏิมากรนำมาจากวัดคูหาสวรรค์
D. พระโลกนาถศาสดาจารย์

 

คำถาม: 99. คำว่า “หีนเพศ” ในข้อความต่อไปนี้ “เหตุฉะนี้กระหม่อมฉันผู้ชื่อว่าชาลีจึงเฝ้า อยู่แต่ห่าง ๆ อย่างหีนเพศพอพักตร์ตน” มีความหมายตรงกับข้อใด (1 คะแนน)
A. เพศที่ยากไร้
B. เพศที่อ่อนแอ
C. เพศที่เข้มแข็ง
D. เพศที่ต่ำช้า – เพศที่ต่ำช้า
 

คำถาม: 100. ข้อใดแสดงความคล้ายคลึงกันทางวัฒนธรรมระหว่างไทยกับอังกฤษ 1. 2. 3. 4. (1 คะแนน)
A. อันอาภรณ์เครื่องประดับสำหรับทรง ทั้งพระองค์แต่ล้วนเพชรเม็ดไม่เบา – การแต่งกายของพระมหากษัตริย์ที่ประดับประดาด้วยเพชรนิลจินดา
B. จึงแย้มเยื้อนเอื้อนโอษฐ์ด้วยโปรดปราน แล้วประทานหัตถ์ให้จับรับทุกนาย
C. ราชบุตรสุดสวาดิจึ่งนาดกราย มาทักทายพูดจาแล้วลาไป
D. โปรดให้นั่งบนเก้าอี้มีน้ำชา อีกทั้งกาแฟใส่ถ้วยลายทอง

http://courseware.triamudom.ac.th/index.php

5 comments on “มงคลสูตรคำฉันท์ ทุกข์ของชาวนา หัวใจชายหนุ่ม

  1. Yl♥vekamikazePBP
    05/01/2011

    ขอบคุณมากนะม่ายงั้นเอาม่ายรุ้จ่าหาตรงตามหนังสือด้ายยังงัยนะ
    ขอบคุณนะ ^_^

  2. วิไล
    20/01/2011

    ช่วยได้มากทั้งการเรียน และเร้าใจให้รู้จักคำนึงถึงคุณค่าของข้าว

  3. pooh curo
    02/02/2011

    แต๊งๆ

  4. ลิงๆ
    24/02/2011

    ขอบคุนค่

  5. AC127
    24/02/2011

    ดีใจคะ ที่ข้อมูลที่หามานำไปใช้ประโยชน์ได้คะ

ส่งความเห็นที่ Yl♥vekamikazePBP ยกเลิกการตอบ

Information

This entry was posted on 21/12/2010 by in ลบทิ้งได้.

ตัวนำทาง

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,723 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,723 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,723 hits

หมวดหมู่