AC127 : https://ac127.wordpress.com/

คุณยุ้ย – อัมพิกา (หาญพานิช) ศิริสุวัฒน์

ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ออสเตเลีย และโอเชียเนีย

                                                          

                                                                       

ภูมิศาสตร์  คือ การศึกษาสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางสังคม

หน่วยการเรียนรู้                  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเรื่องโครงสร้างทางกายภาพ วิถีชีวิตของคนในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และ กลุ่มประเทศ โอเชียเนีย

จุดประสงค์การเรียนรู้

นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะภูมิประเทศทางกายภาพและวิถีชีวิตของคนในทวีปเอเชีย   ออสเตรเลีย และ โอเชียเนีย

เอเชีย   ทวีปแห่งความตรงกันข้าม หรือทวีปแห่งความเป็นที่สุดเช่น

          พื้นที่สูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอร์เรสต เทือกเขาหิมาลัย เนปาล    8,488m เมตร

          พื้นที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล    คือ ทะเลเดดซี อยู่ในประเทศ จอร์แดน อิสราเอล  400 เมตร

          ปริมาณน้ำฝนตกมากที่สุดในโลก ในเมือง เชอราปุนจิน แคว้นอัสสัม ประเทศอินเดีย

          อากาศร้อนและแห้งที่สุด คือดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

          ที่ราบสูงสุดในโลกคือ ที่ราบสูงทิเบต

          อากาศหนาวที่สุดในทวีปเอเชียอยู่ในไซบีเรียตอนเหนือ

          มีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลก

ทวีปเอเชียถูกขนานนามว่าโลกเก่า เพราะมีแหล่งอารยธรรมเก่าแก่ของโลก เช่นแหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย แหล่งอารยธรรมแม่น้ำสินธุ  แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโห   เป็นต้น เส้นศูนย์สูตรผ่านเกาะ 3 เกาะ

เกาะที่เส้นศูนย์สูตรผ่านมี    ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ขนาดใหญ่สุดในโลก

ส่วนที่เป็นแผ่นดินและส่วนเกาะเป็นภูมิศาสตร์แห่งความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นด้านภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ ประชากร สังคมและ วัฒนธรรม

        “(1/3 ของพื้นดินทั้งหมด) ในโลก

“ทิศเหนือละติจูด 77 องศา 45 ลิปดาเหนือ บริเวณแหลมชิลยุสกิน

ทิศใต้ละติจูด 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ บริเวณแหลมปิไอ

“ทิศตะวันออก ลองจิจูดที่ 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก แหลมอิสต์แคป

ทิศตะวันตก  ลองจิจูดที่ 26 องศา 4 ลิปดาตะวันออก แหลมบาบา(ตุรกี)

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดมหาสมุทร อาร์กติดมีทะเลคารา  ทะเลลัปเคฟ ทะเลไซบีเรียตะวันออก

ทิศใต้ ติดมหาสมุทรอินเดีย มีทะเลอันดามัน อ่าวเบงกอล อ่าวเมาะตะมะ ทะเลอาหรับ ทะเลแดง อ่าวโอมาน 

          อ่าวเปอร์เชีย อ่าวเอเดน

ทิศตะวันออก  ติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลโวคอดร์ ทะเลญี่ปุ่น ทะเลจีนตะวันออก ทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้ อ่าวโบไอ อ่าวตังเกี๋ย อ่าวไทย

ทิศตะวันตก ติดทะเลแดง ทะเลเมติเตอร์เรเนีย ทะเลดำ ทะเลแคสเปี้ยน เทือกเขาคอเคซัส เทือกเขาอุราล

ลักษณะภูมิประเทศ

เทือกเขาสูงมีจุดรวมคือ ปาร์มีนอต (หลังคาโลก)  มีเทือกเขาหิมาลัย คุนลุ้น คาราโครัม เทียนชาน นานชาน  อัลตินตัก อัลไต ฮินดูกูช สุไลมาน เอลบรูซ ซากรอส บอนติด ทอรัส

2. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีปที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงยูนาน

3. เขตที่ราบสูงตอนใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ที่ราบสูงเดดคาน ที่ราบสูงอิหร่าน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ที่ราบสูงอาหรับ

4. เขตที่ราบตอนเหนือ ที่ราบไซบีเรีย มีแม่น้ำอ๊อบ แม่น้ำเยนิเซ แม่น้ำลีนา

5. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงโห แม่น้ำแยงซี แม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำไทรกรีส  แม่น้ำยูเฟรทีส แม่น้ำโขง แม่น้ำแดง แม่น้ำสาละวิน แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำเจ้าพระยา

6.เขตหมู่เกาะ หมู่เกาะอินโดนีเชีย  หมู่เกาะฟิลิปปินส์  หมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะมัลดีฟล์

ลักษณะภูมิอากาศ

1.ภูมิอากาศร้อนชื้นตลอดปี (ป่าดิบชื้น ร้อนชื้น แถบศูนย์สูตร) มีอากาศร้อนอุณหภูมิสูง ฝนตกชุกตลอดปี บริเวณ ติมอร์- เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงค์โปร์ มาเลเซีย ภาคใต้ไทย พม่า

2.ภูมิอากาศร้อนชื้นสลับแล้ง (มรสุมเขตร้อน) รับอิทธิพลลมมรสุมมีอากาศร้อน มีฝนตก สลับกับฤดูแล้ง ฝนมากด้านเขาพบบริเวณชายฝั่งตะวันออกคาบสมุทรอินโดจีน   ชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ คาบสมุทรอินเดียและเกาะศรีลังกา

      3.ทุ่งหญ้าซาวันน่า   ทุ่งหญ้าเขตร้อน

      ลักษณะอากาศคล้ายกับภูมิอากาศ ร้อนชื้นสลับแล้ง มีฤดูแล้งสลับกับฤดูฝน แต่ปริมาณ ฝนจะน้อยกว่า พบตอนกลางของอินเดีย    พม่า คาบสมุทรอินโดจีน 

      4. ภูมิอากาศกิ่งทะเลทราย ร้อนแห้งแล้ง และอบอุ่นแห้งแล้งลักษณะมีความแตกต่างของภูมิอากาศมาก คืออุณหภูมิสูง

       ในฤดูร้อนและต่ำมากในฤดูหนาวมีฝนตกบ้างในฤดูร้อน และฤดูใบไม้ผลิ พบในเขตร้อนได้แก่ที่ราบสูงอิหร่าน ตอนกลางคาบสมุทร อนาโตเลีย รัสเซีย ตอนใต้มองโกเลีย บางส่วน

      5.ภูมิอากาศเขตทะเลทรายลักษณะภูมิอากาศแตกต่างกันมากระหว่างกลางวันกับกลางคืน รวมทั้งฤดูร้อนกับฤดูหนาวพบในบริเวณเขตทะเลทรายทุกแห่งทั้งในเขตร้อนและอบอุ่นเช่นทะเลทรายโกบี ทะเลทราย ธาร์ ทะเลทรายซีเรีย ทะเลทรายรับเอลคาลี ทะเลทรายทาริม

       6. ภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน ฝนตกชุก (ภูมิอากาศอบอุ่นชื้นมรสุม)  ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนอุ่นถึงร้อนได้รับอิทธิพลมรสุมทำให้ฝนตกชุก ฤดูร้อนประมาณละติจูดที่ 20-30 องศาเหนือ ทางตะวันออกของจีน ญี่ปุ่นตอนใต้ เกาหลีใต้ เวียดนามตอนเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือของปากีสถาน

7.ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป (อบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป) ลักษณะอากาศมีฝนตกเป็นเขนรับลมของภูเขาสูง  และระบบลม ประจำพัดผ่าน ถ้าอยู่ในละติจูดกลาง  ฤดูร้อนอบอุ่น ฤดูหนาว อากาศหนาวจัด ถ้าอยู่ในละติจูดสูง ฤดูร้อนอากาศเย็น ฤดูหนาวอากาศหนาวเย็น   ตอนเหนือของญี่ปุ่น (ฮอนซู ฮอกไกโด)  เกาหลีเหนือ ภาคเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ตะวันออกเฉียงใต้ของไซบีเรีย

8.ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน  ลักษณะอากาศร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อน ฤดูหนาวฝนตกลชุกพบที่ชายฝั่งตุรกี  เกาะไซปรัส  เลบานอน ซีเรีย  อิสราเอล อิรักตอนเหนือ

9.ภูมิอากาศแบบกึ่งซีกโลก  (แบบไทกา –taiga) ลักษณะ อากาศมีฝนตกมากบางครั้งเป็นรูปหิมะฤดูหนาว หนาวจัดยาวนาน ฤดูร้อนมีช่วงสั้น พบบริเวณไซบีเรียของรัสเซีย

10.ภูมิอากาศแบบขั้วโลก (ทุนดรา) ลักษณะอากาศฤดูหนาวยาวนาน มีหิมะปกคลุมตลอดปีไม่มีฤดูร้อน พบทางชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก

11.ภูมิอากาศเขตที่สูง ลักษณะอากาศหนาวเย็นมีหิมะปกคลุมตลอดปีหรือเกือบตลอดปี พบที่เขาสูงตอนกลางของทวีปเช่น ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูช  เทือกเขาคาราโครัน เทือกเขาคุนลุน เทือเขาเทียนชาน

พืชพรรณธรรมชาติ

1.       เขตภูเขาสูงพืชพรรณธรรมชาติเป็นพวก มอส และไลเกนพบตามเขตภูเขาสูง ทวีป

2.       ในเขตร้อน-มรสุม แบ่งเป็น 3 ประเภทขึ้นกับปริมาณฝน

          ป่าฝนเขตร้อน (ร้อนชื้นตลอดปี ) ได้แก่ป่าดิบชื้นหรือป่าดงดิบ

          ป่ามรสุม ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบ

          ทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ ทุกหญ้าเขตร้อน ไม้ขนาดเล็ก

3.       ในเขตละติจูดกลาง พืชพรรณเป็นป่าผสมที่มีไม้สนชื้นกลับกับไม้ใบกว้างที่มีเนื้อไม้แข็ง เช่น เมเปิ้ล โอ๊ค วอลนัด พบที่รัสเซียตะวันตก จีนตะวันออกเฉียงใต้ ญี่ปุ่น

4.       ในเขตเมดิเตอร์เรเนียนเป็นไม้พุ่มเตี้ย แทรกสลับกับไม้ยืนต้น (ไม้ผล ในเขตเมดิเตอร์เรเนียนจะมีรสเปรี้ยว เช่น มะกอก องุ่น ส้ม) พบรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเช่นตุรกี  อิสราเอล จอร์แดน

5.       ในเขตทะเลทราย เป็นไม้ทนแล้ง เช่นกระบองเพชร บางแห่งที่เป็นโอเอซีส(แห่งน้ำใต้ดิน ) อินทผลัม พวกมีหนามพบที่คาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอิหร่านที่ราบสูงทากิม ทะเลทราย ธาร์ที่ราบสูงทิเบต

6.       ทุ่งหญ้าที่กึ่งทะเลทราย เขตอบอุ่นเป็นทุ่งหญ้าสั้น (Stepped) ต้นไม้ขนาดเล็ก(ปลูกข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ฝ้าย) พบทางตะวันตกของคาบสมุทรอาหรับ ตอน กลางของตุรกี ตอนเหนือของอิหร่าน มองโกเลีย ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

7.       ในป่าเขตไทกา ป่าสนเขตหนาว เป็นป่าเนื้ออ่อนที่สำคัญที่สุดของเอเชีย พบในไซบีเรีย

8.       ในเขตทุนดรา ได้แก่ตะไคร่น้ำ มอส ไลเคนพบในชายฝั่งมหาสมุทรอาร์ติก

ประชากร  ภาษา  ศาสนา

1.       ประชากรแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

          กลุ่มมองโกลอยด์[Mongoloid] กลุ่มผิวเหลือง เป็นประชากรที่มากที่สุดของทวีปเอเชียและโลก แบ่งเป็นมองโกลอยด์เหนือเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ุที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ-ใต้  ทิเบต มองโกเลีย เติร์กเมนิสถาน ในภูมิภาคเอเซียกลาง

          มองโกลอยด์ใต้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  ติมอร์-เลสเต้  บรูไน ฟิลิปปินส์  รวมทั้งชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏในภูเขาสูงของคาบสมุทรอินโดจีน เช่น  ชาวม้ง กระเหรี่ยง อีก้อ มูเซอ และชนกลุ่มน้อยในกลุ่มเกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางพวก  เดยัก (เกาะบอร์เนียว)

          กลุ่ม คอเคซอยด์ (Caucasoid) กลุ่มชาติพันธ์ที่มีผิวขาว มีหน้าตา และรายกายสูงใหญ่ พบทางเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียกลาง เอเชียใต้ เอเชียเหนือ  ได้แก่ชาวอาหรับ ชาวปากีสถาน ชาวอินเดีย ชาวเนปาล

          กลุ่มนิกรอย์  (Negroid)   กลุ่มผิวดำ ผมหยิก รูปร่างเล็ก เป็นชาวพื้นเมืองชาวดราวิเดียน ในคาบสมุทรอินเดีย ศรีลังกา  เงาะป่าเซมัง  เงาะซาไกในมาเลเซีย  ปาปวน และอินโดนีเซีย

2.       ภาษา แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ

          กลุ่มภาษาตุรกี ได้แก่ ภาษาตุรกี กาษาอาเซอร์ไบจาน ภาษาอุยเกอร์  ภาษาตาดาร์  ภาษาอุซเบก  ภาษาเติร์กเมน

          กลุ่มภาษาสลาฟ ได้แก่รัสเซีย

          กลุ่มภาษาตุงกุส ได้แก่ภาษาตุงกูส ภาษาแมนจู

          กลุ่มภาษาจีน ภาษาที่ประชากรในเอเชียพูดกัน ภาษาแมนดาริน ภาษาจีน เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น

          กลุ่มอินโดอารายันใช้ในอินเดีย ปากีสถาน  ศรีลังกา บังกลาเทศ ได้แก่ ภาษาฮินดิ  ภาษาอูรดู ภาษาแบงกาลี ภาษาสิงหล

          กลุ่มภาษาอิหร่าน ใช้ในประเทศอัฟกานิสถาน อิหร่าน ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย ภาษาเติรด์ ภาษาพัชโท

          กลุ่มภาษาทิเบต พม่า ได้แก่ ภาษาทิเบต ภาษาไทย  พม่า ลาว เขมร

          กลุ่มภาษามองโกล ได้แก่ ภาษามองโกเลีย และใช้ในไซบีเรีย  

ศาสนา

          ศาสนาคริสต์  ส่วนใหญ่ คือ อาร์เมเนีย ไซปรัส จอรืเจีย ฟิลิปปินส์

          อิสลาม  ส่วนใหญ่คือ กลุ่มอาหรับในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ประเทสอินโดนีเซีย มาเลเซีย ปากีสถาน บังกลาเทศ อัฟกานิสถาน  เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิซสถาน คาซัคสถาน  ทิจิกิสถาน คีร์กีซสถาน อาเซอร์ไบจาน

          ศาสนาพุทธ  ส่วนใหญ่ ไทย ศรีลังกา  พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา ภูฎาน

          ศาสนาฮินดู ส่วนใหญ่ที่นับถือ อินเดีย เนปาล

          ศาสนาซิกซ์ ส่วนใหญ่บริเวณภาคเหนือของอินเดีย

          ลัทธิขงจื้อ และ เต๋า ส่วนใหญ่ที่นับถือเป็นจีน

          ศาสนายูกาย ส่วนใหญ่ ที่นับถือ อิสราเอล

          ศาสนาชินโต ส่วนใหญ่ หมู่เกาะญี่ปุ่น

แร่ธาตุ

 ถ่านหิน พบด้านตะวันออกของจีน     ตอนเหนือและใต้ของรัสเซีย ตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนามตอนเหนือ

(หนังสือ  ถ่านหิน ติดไฟได้ สีน้ำตาลจนดำ ใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า พบที่ จีนด้านตะวันออก รัสเซีย  ส่วนเอเชียตอนใต้และเหนือ อินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น และเวียดนามตอนเหนือ)

น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ พบตามภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ ประเทศ ซาอุดิอาระเบีย อิรัก  อิหร่าน คูเวต สหรัฐอาหรับอิมิเรตส์  บาร์เรน บริเวณประเทศรัสเซีย จีน อินโดนีเซีย พม่า

(หนังสือ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ เป็นแร่เชื้อเพลิง เป็นของเหลว พบตามภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ รัสเชีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

แร่เหล็ก พบในจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ รัสเซียตอนใต้ อินเดียตะวันออกเฉียงเหนือ

แมงกานีส พบทางตอนใต้ของจีน คาบสมุทรเดคคานในอินเดีย  ตะวันออกของตุรกี

แร่ทองแดง พบที่รัสเชียตอนเหนือ  คาซัสสถานตอนกลาง จีนด้านฝั่งชายตะวันออก เกาะเซลีเบส ฟิลิปปินส์

แร่นิเกิล พบที่รัสเซียตอนเหนือ คาซัคสถานด้านตะวันตก จีนตอนเหนือ เกาะเซลีเบสของอินโดนีเซีย

แร่ตะกั่ว พบที่คาซัคสถานด้านตะวันออกเฉียงเหนือ จีนตอนใต้ ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือ

สังกะสี พบที่อาเซอร์ไบจาน คาซัคสถานด้านตะวันออกเฉียงเหนือ อัฟกานิสถานตอนเหนือ จีนตอนใต้ เกาะฮอนชูยอญี่ปุ่น อำเภอแม่สอด จ.ตาก ของไทย

แร่ดีบุก พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ภาคใต้ของไทย

แร่ทังสเตน พบที่เกาหลีใต้ จีนตะวันออก คาซัคสถานตอนกลาง

แร่ทองคำ ในรัสเซีย อุซเบกิสถาน จีนชายฝั่งทะเลเหลือ

แร่เงิน พบี่อุซเบกิสถาน ญี่ปุ่น

แร่รัตนชาต  พบที่สำคัญในรัสเซีย พม่า ไทย ศรีลังกา แซฟไฟร์ใน พม่า ศรีลังกา

แร่โพเเทชและหินเกลือ แหล่งสำคัญ พบในตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รัสเซียตะวันตก(ออก)

ทวีปเอเชียแบ่งออกเป็น 6 ภูมิภาค

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกประกอบด้วย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ มองโกเลีย

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต สิงค์โปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์

ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ประกอบด้วย อัฟกานิสถาน อิหร่าน อิรัก ซีเรีย ตุรกี ซาอุดิอาราเบีย โอมาน เยเมน กาตาร์ เลบานอน คูเวต จอร์แดต ไซปรัส อิสราเอล สหรัฐอาหรับอิมิเรสต์

ภูมิภาคเอเชียใต้ประกอบด้วย อินเดีย ปากีสถาน บังกลาเทศ ศรีลังกา มัลดีฟ ภูฎาน  เนปาล

ภูมิภาคเอเชียกลาง ประกอบด้วย คาซัคสถาน อุซเบกิสสถาน เติกร์เมนิสถาน อาร์เมเนีย จอร์เจีย อาเซอร์ไบจาน ทาจิกิสถาน คีร์กีช

ภูมิภาคเอเชียเหนือ คือ ดินแดนของประเทศรัสเซีย

ทวีปออสเตรเลีย เป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุด

ประกอบด้วย 3 ประเทศ   ประเทศออสเตรเลีย   นิวซีแลนด์   ปาปัวนิวกินี

ประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก 11 ประเทศ

สาธารณรัฐฟิจิ    สาธารณรัฐคิริบาส   สาธารณรัฐหมู่เกาะมาร์แชลล์     สหพันธรัฐไมโครนีเซีย    สาธารณรัฐนาอูรู 

สาธารณรัฐปาเลา   รัฐเอกราชซามัว    หมู่เกาะโซโลมอน    ราชอาณาจักรตองกา    ตูวาลู    สาธารณรัฐวานูอาตู

ประเทศในเขตโอเชียเนีย ประกอบด้วย ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินีและประเทศในหมู่เกาะแปซิฟิก 11 ประเทศ

                               

ประเทศอสเตรเลียมีลักษณะดังนี้

ภูมิประเทศเป็นเกาะ และมีทำเลที่ตั้งอยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร

แทสเมเนีย เป็นเกาะที่อยู่ด้านล่างของทวีปออสเตรเลียตรงบริเวณทะเลแทสมัน

ประเทศออสเตรเลียมีลักษณะภูมิอากาศค่อนข้างแห้งแล้งโดยเฉพาะบริเวณตอนใน ทำให้เกิดทะเลทรายอยู่ตอนกลางของประเทศ

ประเทศออสเตรเลียมีแหล่งน้ำน้อยมาก แม่น้ำส่วนใหญ่มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไม่เพียงพอต่อการใช้ จึงต้องนำน้ำบาดาลมาใช้

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้พุ่มเตี้ย และทุ่งหญ้ากว้าง จึงทำให้ชาวออสเตรเลียมีอาชีพที่เด่น คือ การเลี้ยงสัตว์ (การเลี้ยงแกะพันธุ์เมอริโน)

ปัจจุบันประชาการส่วนใหญ่เป็นชาวผิวขาวที่อพยพมาจากยุโรป ส่วนชาวพื้นเมือดั้งเดิมเป็นชาวอะบอริจินิส

ทวีปออสเตรเลียตั้งอยู่ใกล้กับทวีปเอเชียมากที่สุด

 

อาณาเขตของประเทศออสเตรเลีย

ทิศเหนือ   ติดมหาสมุทรอินเดียมีทะเลติมอร์  ติดมหาสมุทรแปซิฟิกมีทะเลอาราฟูรา

ทิศใต้       ติดมหาสมุทรอินเดีย

ทิศตะวันออก ติดมหาสมุทรแปซิฟิกทะเลแทสมัน ทะเลคอรัล

ทิศตะวันตก  ติดมหาสมุทรอินเดีย

ลักษณะภูมิประเทศ  แบ่งเป็น 4 บริเวณ

1 ที่สูงด้านตะวันออก ที่เทือกเขาเกรตดิไวดิง วางตัวตามแนวเหนือใต้ขนานชายฝั่งด้านตะวันออก ยอดเขาสูงสุดอยู่ด้านใต้ ชื่อ ยอดเขาคอสซิอัสโก และเทือกเขานี้เป็นต้นกำเนิด แม่น้ำเมอร์เรย์ แม่น้ำดาร์ลิง

2 ที่ราบสูงด้านตะวันตกที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบสูงคิมเบอร์เลย์ ที่ราบสูงบาร์กลี สลับกับทิวเขา บริเวณนี้มีทะเลทรายเกรตวิคตอเรีย  ทะเลทรายเกรตแซนดี ทะเลทรายกิบสัน

3 บริเวณที่ราบต่ำตอนกลาง หรือที่ราบตอนกลางอยู่ตรงกลางประเทศตั้งแต่อ่าวคาร์เปนตาเรียตอนเหนือ จนถึงอ่าวสเปนเซอร์ และอ่าวเกรตออสเตรเลียตอนใต้ แบ่งเป็น 4 บริเวณ

        3.1 ที่ราบนัลลาบอร์   เป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่าไม่มีต้นไม้ และบริเวณที่ราบนัลลาบอร์ไม่มีแม่น้ำสายใดไหลผ่านทำให้เกิดความแห้งแล้งมากอยู่ติดกับอ่าวเกรตออสเตรเลียน (ที่ราบอ่าวเกรตออสเตรเลียน)

3.2 ที่ราบลุ่มแม่น้ำดาร์ลิง-เมอร์เรย์ เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เป็น แหล่งเพาะปลูกที่สำคัญของประเทศมีแม่น้ำดารืลิง แม่น้ำเมอร์เรย์ และสาขาสำคัญไหลผ่าน

3.3 ที่ราบบริเวณ ทะเลสาบแอร์ เป็นเขตค่อนข้างแห้งแล้ง มีทะเลทรายสจวร์ต ทะเลทรายซิมป์สัน

3.4 ที่ราบย่านอ่าวคาร์เปนตาเรียอยู่ตอนเหนือของประเทศ

4 .ภูมิประเทศชายฝั่งทะเลและเกาะแก่ง มีลักษณะชายฝั่งค่อนข้างราบเรียบ ไม่ค่อยเว้าแหว่งมาก มีอ่าวเกรตออสเตรเลียตอนใต้ อ่าวโจเซฟโบนาปาร์ต อ่าวคาร์เปนตาเรีย มีคาบสมุทรยอร์กตอนเหนือ คาบสมุทรแอร์ตอนใต้ มีแนวปะการังขนานชายฝั่งตะวันออก เรียกว่า เทือปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ

34 comments on “ภูมิศาสตร์ทวีปเอเชีย ออสเตเลีย และโอเชียเนีย

  1. ดีดีดีดีดี

  2. mai
    08/12/2010

    ขอขอบคุณค้า

  3. พึ่งเคยอ่าน

  4. AC127
    07/02/2011

    อ่านไม่ออกคะ

  5. dadchepon
    11/08/2011

    ขอบ๕ณครับที่ให้ข้อมูลดีดี : )

  6. Yaya
    18/08/2011

    มีแบบแค่ออสเตรเลียโอเชียเนียป่ะค้ะ? คืออ่านแบบนี้งงๆ อ่า ><

  7. vkikp
    18/08/2011

    ไม่ตรงประเด็น
    มีอารยธรรมก็น่าจะดีกว่านี้
    น่าจะมีควาละเอียด
    เนื่อหาเยอะ
    สรุปไม่ได้

    • AC127
      12/02/2012

      ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและ comment คะ
      หากสรุปได้เนื้อหาที่ละเอียด และตรงประเด็นที่ต้องก็ รบกวนเพิ่มเติมในเวปนี้ให้ด้วยจะเป็นพระคุณคะ

  8. rattanawicher sin.
    21/08/2011
  9. fluk >
    05/09/2011

    เยี่ยมมากเลยค่า
    เปนปาโหยดต่อนู๋ทามด้วยขอบคุนค่าๆๆๆๆๆๆ

    • AC127
      12/02/2012

      ดีใจคะ ที่ได้ทำประโยชน็ให้เด็กๆ คะ

  10. Natty Nattida
    14/09/2011

    ขอบคุณมากค่ะ ตรงกับเนื้อหาที่ครู สอนเลย

  11. cpjt
    15/09/2011

    ขอบคุณมากๆที่สร้างเว็บนี้ขึ้นมาเพราะเป็ฯเว็บที่ดีมากๆ

  12. ไทย
    02/10/2011

    เราต้องการของออสเตรเลียตะหาก แล้วทำไมเป็นของเอซียละ บ้า !!! อะเป่า
    แร้วทำไมไม่เขียนหัวข้อเป็นทวีปออสเตรเลียล่ะ ทำไมไม่เขียนเป็นเอเซียซะก้อสิ้นเรื่อง

    • AC127
      02/10/2011

      ทำไมดุจังคะ

      ในเนื้อหานี้เป็นการเรียนของเด็กมัธยม ซึ่งเรียนเกี่ยวกับทวีปต่างๆ คะ และหนังสือเรียนเขียนเช่นนี้คะ

      ยังไงก็ตาม ได้แนบ เรื่องออสเตเลีย (เป็น powerpoint มาให้แล้วคะ)

    • เจอาร์
      15/07/2012

      ก็เรื่องของเขา

  13. 280741
    08/01/2012

    ช่วยได้มากเลย

  14. ออย
    13/01/2012

    ดีมากๆๆๆ ครูกำลังให้ทำเลยค่ะ

  15. frsfs
    12/02/2012

    ขอบคุณคับ!

  16. ice
    23/05/2012

    ดีใจมากค่ะที่สิ่งดีๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆขนาดนี้

  17. ฟ้า
    24/05/2012
  18. สุพิชญา
    02/07/2012

    บางเรื่องก็เข้าใจค่ะ แต่บางเรื่องไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกันอย่างไร แต่จะพยายามเข้าใจให้มากขึ้นค่ะ ขอขอบคุณค่ะ

  19. พิมชนก คชวงศ์
    06/07/2012

    ที่ราบสูงในออสเตรเลียไม่เห็นมีเลยค่ะ

  20. ปิ่นนน
    08/07/2012

    มันคัดลอกไม่ได้อ่ะ

  21. Pattakamin Chanram
    08/07/2012

    โชคดีที่เซิร์ทมาเจอ ขอบคุณมากค่ะ

  22. เจอาร์
    15/07/2012

    มีความรู้มากเลยครับ

  23. -
    20/08/2012
  24. ISAT
    03/09/2012

    หาไม่เจอเลยออสเตรเลียและโอเชียเนีย

  25. AC127
    03/09/2012

    เวปไซด์ คุณศรายุท เป็นวีดีโอ เรือ่ง ทวีปเอเชียและโอเชียเนีย
    https://sites.google.com/site/srayuthth150/thwip-xxsterleiy-laea-xo-cheiy-neiy

  26. Nong Hong Ka
    20/09/2012

    ดีคร้าาาาาาาา

  27. .......
    26/11/2012

    ให้ความรู้ดีน่ะ

ส่งความเห็นที่ - ยกเลิกการตอบ

Information

This entry was posted on 22/07/2008 by in สังคมศึกษา.

ตัวนำทาง

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,362 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,362 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,362 hits

หมวดหมู่