AC127 : https://ac127.wordpress.com/

คุณยุ้ย – อัมพิกา (หาญพานิช) ศิริสุวัฒน์

สรุปการเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคสมัยที่เกิดขึ้น (ม.6)

              วิชาประวัติศาสตร์  ส 43104 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปลายภาคเรียนที่ 2

  สรุปการเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคสมัยที่เกิดขึ้น

                   หลักฐานที่ทำให้ทราบได้ว่ากรุงศรีอยุธยามีพัฒนาการมาก่อนหน้าปีพศ. 1893 ได้แก่ ภาษาที่ใช้ในราชสำนัก  พระพุธรูปที่วัดพนัญเชิง  กฎหมายของอยุธยาเก่า

                   การเปลี่ยนแปลงชนชั้นในสมัยอยุธยมีมีลักษณะการเปลี่ยนแปลงได้จากความสามารถของแต่ละบุคคล

                   องค์ประกอบของสังคมไทยตั้งแต่สมัยโบราณมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในเรื่องของการบวชพระเพราะทุกคนบวชเข้าไปได้เหมือนกันหมดไม่มีการแบ่งชนชั้นวรรณะ

                   สังคมไทยในอดีตมีกฎหมายห้ามมูลนายใช้ไพร่หลวงทำงานส่วนตัว

                   ไพร่มีความสำคัญตอการพัฒนาบ้านเมืองอย่างมากเพราะสามารถใช้แรงงานไพร่ในการทำงานในโรงงาน

                   การจัดรูปแบบกองทัพแบบประจำการเหมือนในปัจจุบันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 5ในเรื่องการฟื้นฟูกรมทหารม้า

                   การยกเลิกระบบทาสในสังคมไทยเกิดจากาอิทธิพลในเรื่องการเดินทางไปเยือนต่างประเทศของผู้นำของไทย

                   การติดต่อค้าขายกับจีนทำรายได้ให้กับอาณาจักรรัตนโกสินทร์อย่างมาก

                   พื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศไทยก่อนการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเงินตราคือ การทำนา ค้าขาย ช่างฝีมือ

                   การทำนาขยายตัวมากขึ้นภายหลังการทำสัญญาเบาริงเพราะการอนุญาตให้ข้าวเนสินค้าออกได้

                   การตราพระราชกำหนดศักดินาทำให้เกิดประโยชน์ต่อการลำดับขั้นพระราชวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในเรื่องสิทธิ อำนาจ หน้าที่

                   สิ่งที่เห็นได้อย่างาชัดเจนในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทยในสมัยการปกครองตามระบอบรัฐธรรมนูญคือ การสวมหมวก การเลิกเคี้ยวหมาก การเปลี่ยนแปลงวันขึ้นปีใมห่

                   กรมเจ้าพระมหากษัตริย์ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นทรงตั้งขี้นพระราชวงศ์

                   กรมพระสุรรัสวดี  ทำหน้าที่ในการควบคุมและจัดสรรกำลังคนเพื่อประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน

                   รัชกาลที่ 4  ออกกฎหมายให้บุคนและภรรยามีสิทธิไม่ยินยอมให้บิดาและสามีขายเป็นทาส

                   คนมือขาว ใช้เรียกไพรที่ไม่สังกัดมูลนาย

                   ความเสมอภาคคือจุดมุ่งหมายในการประกาศยกเลิกบรรดาศักดิ์และยศของข้าราชกาล

                   ทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญในแผนพัฒนาชาติฉบับต่อไปเพื่อแก้ไขปัญหาของชาติและเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

                   กรุงธนบุรีเป็นเมืองหลวงแห่งแรกที่มีการทำนานอกฤดูและออกแบบลงโทษผู้ลักลอบนำข้าวไปขายต่างประเทศเพราะช่วงระยะนั้นเกิดข้าวยากหมายแพง

                   พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นพระที่นั่งในพระบรมมหาราชวังที่นำสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกเข้ามาแบบตะวันตกเข้ามาใช้

                   รัชกาลที่ 6  ทรงมีบทบาทในการส่งเสริมวรรณกรรมไทย โดยเห็นได้จากพระราชนิพนธ์วรรณคดีทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรอง และบทละคร ทรงสนับสนุนให้มีการสร้างสรรค์วรรณกรรมอย่างกว้างขวางทรงจัดให้มีทั้งหนังสือพิมพ์รายวันทั้งไทย จีน อังกฤษ และมีวารสาร นิตยสาร นวนิยาย เรื่องสั้นที่ได้รับความนิยมเช่น ดาบเหล็กน้ำพี้ ความผิดครั้งแรกของดอกไม้สด ละคนแห่งชีวิต ฯลฯ

                   ศิลปะไทยจะงดงามประณีตวิจิตหรือไม่ขึ้นอยู่กับ สภาพบ้านเมืองในสมัยนั้น ๆ ถ้าเป็นยุคสงครามบ้านเมืองไม่สงบการสร้างสรรค์ศิลปะก็จะดูแข็งกร้าว สีสันน่ายำเกรง ดุดัน แม้แต่การปั้นพระพุทธรูปก็มีพระพักตร์น่าเกรงขาม แต่ถ้ายามที่บ้านเมืองสงบไร้ซึ่งสงคราม ศิลปะก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติ มีความละมุนละไม วิจิตรบรรจง

                   พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นสถาปัตยกรรมที่นำรูปแบบมาจากตะวันตก

                   วัดสุทัศน์ สร้างขึ้นเพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นแบบเดียวกับวัดพนัญเชิงอยุธยา

                   ประเพณีในราชสำนักเริ่มมีขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ยังเป็นผู้วางรากฐานในการเก็บภาษีโรงเรือนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการสุขาภิบาลโดยเริ่มครั้งแรกที่จังหวัดสมุทรสาคร

                   ธรรมธิกรณ์ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบงานในราชสำนึกและงานพระราชพิธีในวัง

                   รัชกาลที่ 7  ทรงปรับปรุงแก้ไขปัญหาเรื่องการเมืองการปกครองโดยทรงลดรายจ่ายที่สูงกว่ารายรับด้วยการปลดข้าราชการ ยุบเลิก หรือรวมกิจการกบริหารต่างๆ เช่น ยุบและรวมมณฑลต่างๆ ยกเลิกตำแหน่งอุปราช และปลดปลัดมณฑล ยุบกระทรวงมุรธาธิการ มารวมกับ กรมราชเลขา  ยุบกระทรวงทหารเรือ เป็นกองทัพเรือขึ้นกับกลาโหม ยุบเลิกกรมศิลปากรและกรมราชทัณฑ์

                   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4  ทรงแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองของไทยโดยทรงศึกษาภาษาอังกฤษจากพวกมิชชันนารี ทำให้ทรงอ่านและตรัสภาษาอังกฤษได้ดี แก้ไขระเบียบประเพณีบางอย่าง เช่น ให้ขุนนางข้าราชการเลือกสรรบุคคลที่เหมาะสมขึ้นดำรงตำแหน่งพระมหาราชครู ปุโรหิต ยอมลดฐานะพระองค์ร่วมดื่มน้ำพิพัฒน์สัตยาร่วมกับขุนนาง ให้ประชาชนได้เข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิดขณะพระองค์เสด็จผ่านโดยไม่ต้องหลบหนีเหมือนแต่ก่อน ให้ขุนนางและข้าราชการเวลาเข้าเฝ้าต้องสวมเสื้อ ฯลฯ

                   การพัฒนาเศรษฐกิจในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 8 มีนโยบายโดยกำหนดให้การพัฒนาคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา เศรษฐกิจเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการพัฒนาคนและสภาพแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชน การกระจายรายได้ กระจายผลประโยชน์ให้ตกถึงคนซึ่งเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา  ปัญหาที่เกิดขึ้น ปรากฏว่าเมื่อแรกใช้แผนพัฒนาฉบับที่ 8ไทยประสบปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ และการเงินอย่างรุนแรง รัฐบาลไทยต้องขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนระหว่างประเทศ IMF  พร้อมปรับแผนพัฒนาฉบับที่ 8 ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ลดผลกระทบที่มีต่อคนและสังคมโดยเฉพาะการว่างงาน

                        การพัฒนาเศรษฐกิจสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นแบบทุนนิยมโดยการสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศและการลงทุนในภาคเอกชน มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน ซึ่งจะยกเว้นภาษีอากรขาเข้าสำหรับเครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบและอุปกรณ์ต่างๆเพื่อการผลิต ยกเว้นภาษีเงินได้เป็นเวลา 5 ปี ยกเว้นภาษีการค้าสำหรับอุตสาหกรรมส่งออก ผู้ลงทุนมีสิทธิในการลงทนและผลกำไร มีสิทธิในการซื้อที่ดินและนำผู้เชี่ยวชาญเข้าประเทศได้โดยเสรี ส่วนในแง่การคุ้มครอง รัฐบาลไทยต้องให้หลักประกันว่ากิจการเหล่านี้จะได้รับประกันมิให้ถูกโอนเป็นของรัฐและได้รับคุ้มครองมิให้มีกิจการประเภทเดียวกันมาแข่งขันอีกด้วย

…………………………………………………………………………………..

สมัยสุโขทัย

พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

ด้านการเมือง การปกครอง ทรงขยายอาณาเขตของอาณาจักรสุโขทัยออกไปอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าในรัชสมัยใด ๆ ของสุโขทัย
ด้านอักษรศาสตร์ ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทย (ลายสือไทย)

ด้านศาสนา ทรงรับพระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท ลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาประดิษฐานที่กรุงสุโขทัย และส่งเสริมให้ประชาชนประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดีงาม

ด้านเศรษฐกิจ ทรงส่งเสริมการค้าภายในและการค้ากับต่างประเทศ โดยไม่เก็บภาษีผ่านด่าน (จังกอบ) จากพ่อค้าที่

นำสินค้าเข้ามาค้าขายในกรุงสุโขทัย

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทรงเจริญไมตรีกับจีน โดยยอมรับระบบรัฐบรรณาการในฐานะที่จีนเป็นชาติมหาอำนาจในสมัยนั้น และทรงมีความสัมพันธ์ที่ดีกับอาณาจักรล้านนาและแคว้นพะเยา

ด้านการดูแลทุกข์สุขของราษฎร โปรดให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนมาสั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวัง เพื่อถวายฎีกา

ร้องทุกข์ได้

พระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย)

     ทรงเป็นแบบอย่างของพระมหากษัตริย์แบบธรรมราชา คือ พระมหากษัตริย์ที่ปกครองบ้านเมืองโดยยึดตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และเอาใจใส่ทะนุบำรุงกิจการพระศาสนาด้วยดี     การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดและ

พระพุทธรูปสำริดหลายพระองค์ และโปรดให้ส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ยังเมืองใกล้เคียง

ผลงานด้านวรรณกรรม ทรงนิพนธ์ ไตรภูมิพระร่วง  เพื่อสั่งสอนประชาชนให้รู้จักบาปบุญคุณโทษ ถือว่าเป็น

วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาเล่มแรกของไทย

สมัยอยุธยา

สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ

การปฏิรูปการปกครอง ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์นักปกครองที่ยิ่งใหญ่พระองค์หนึ่งของกรุงศรีอยุธยา ทรงปฏิรูป

การปกครองดังนี้

  • ·         รวมอำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วนกลางราชธานี โดยลดอำนาจเจ้านายเชื้อพระวงศ์ที่ปกครองเมืองหลวง โดยเปลี่ยนฐานะเมืองลูกหลวงให้เป็นเมืองชั้นจัตวา และส่งขุนนางไปปกครองแทน ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้เจ้านายเชื้อพระวงศ์ก่อกบฏแย่งชิงอำนาจ
  • ·         แยกหน้าที่ข้าราชการออกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร (สมุหพระกลาโหม) และฝ่ายพลเรือน (สมุหนายก)
  • ·         ตรากฎมนเทียรบาล เป็นกฎระเบียบภายในราชสำนักว่าด้วยการสืบราชสมบัติ ทั้งนี้เพื่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์
  • ·         ตราพระราชกำหนดศักดินา เพื่อจัดระเบียบบุคคลในสังคม อยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข โดยจัดลำดับชั้น กำหนดสิทธิ และหน้าที่ของบุคคลตามศักดินาของแต่ละบุคคล
  • ·         การรวมอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับอาณาจักรอยุธยา โดยทรงย้ายราชธานีไปประทับที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานานถึง 25 ปี ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการปกครองดูแลหัวเมืองเหนือ ป้องกันการรุกราน ของอาณาจักรล้านนา และเพื่อปกครองกรุงสุโขทัยได้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น

สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

การประกาศอิสรภาพ กรุงศรีอยุธยาเสียเอกราชแก่พม่า ครั้งที่ 1  ในปี พ.ศ. 2112 และตกเป็นประเทศราชอยู่นาน 15 ปี จนกระทั่ง ใน พ.ศ. 2127 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงกอบกู้เอกราชให้แก่ ชนชาวไทยโดยการประกาศอิสรภาพที่เมืองแครง หัวเมืองชายแดนของมอญ การทำสงครามกับพม่า ตลอดรัชสมัยของพระองค์ ต้องทรงทำศึก สงครามป้องกันการรุกรานของพม่า โดยเฉพาะ สงครามยุทธหัตถี  พ.ศ. 2135 ทรงได้รับชัยชนะและถือเป็นวีรกรรมที่กล้าหาญ การทำสงครามขยายอาณาเขต ทรงขยายอำนาจออกไปอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมดินแดนของอาณาจักรล้านนา ล้านช้าง และเขมร

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ด้านการทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทรงดำเนินนโยบาย ด้านการต่างประเทศอย่างสุขุมรอบคอบ เพื่อให้ไทยรอดพ้น จากภัยคุกคามของชาติตะวันตก สิ่งที่ทรงดำเนินการ คือ สร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลอำนาจกับฮอลันดา ทำให้ไทยรอดพ้นจากอำนาจการคุกคามของฮอลันดา การแลกเปลี่ยนคณะทูตกับฝรั่งเศส เพื่อกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศทั้งสองให้แน่นแฟ้น

ด้านการค้ากับต่างประเทศ ในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรือง ทางด้านการค้ากับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ทรงส่งเสริมให้พ่อค้าชาติต่างๆ เข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา เช่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส ฮอลันดา อังกฤษ จีน อินเดีย และอาหรับ ซึ่งเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจของไทย

ด้านวรรณกรรม ในรัชสมัยของพระองค์ทรงส่งเสริมการประพันธ์โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน จนได้ชื่อว่าเป็น ยุคทองของวรรณกรรม มีกวี นักปราชญ์ราชบัณฑิตในราชสำนักที่มีชื่อเสียงหลายคน เช่น ศรีปราชญ์ พระศรีมโหสถ พระมหาราชครู เป็นต้น

สมัยธนบุรี

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ด้านการเมืองการปกครอง  กอบกู้เอกราช ก่อนขึ้นเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงเป็นผู้นำชุมนุม      คนไทยโดยตั้งฐานที่มั่นอยู่ที่เมืองจันทบุรี ได้นำกำลังเข้าโจมตี ขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาและกอบกู้เอกราชได้สำเร็จภายในเวลา 7 เดือน นับจากรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตก ใน      พ.ศ. 2310 หลังจากนั้นจึงทรงสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี และทำพิธีราชาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์รวบรวมคนไทยให้เป็นปึกแผ่น ภายหลังที่ทรงประกาศอิสรภาพแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงรวบรวมคนไทยที่แตกแยกเป็นชุมนุมต่างๆ ภายหลังการเสียกรุงฯ ครั้งที่ 2 ให้เข้ามาอยู่ภายใต้การนำของพระองค์ เพื่อให้ชาติบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง

ด้านเศรษฐกิจ

การแก้ไขปัญหาข้าวยากหมากแพง ในช่วงต้นรัชกาลราษฎรต่างประสบความเดือดร้อนจากภาวะขาดแคลนเสบียงอาหาร ทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างชาตินำมาแจกจ่ายให้แก่ราษฎร และส่งเสริมให้ข้าราชการและราษฎรทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิต

การส่งเสริมการค้ากับต่างประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำภายหลังสงครามสิ้นสุดลงสมเด็จพระเจ้าตากสิน ฯ ทรงสนับสนุนการค้าทางเรือสำเภากับพ่อค้าชาวจีนและชาติอื่นๆ ซึ่งช่วยบรรเทาความขาดแคลนสินค้าอุปโภคและบริโภคลงได้ในระดับหนึ่ง

รัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1

                                พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1  เป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงขึ้นครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.  2325-2352 ทรงมีพระราชกรณียกิจที่

เป็นประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง ดังนี้

ด้านการเมืองและการปกครอง ทรงมีพระปรีชาในด้านการทหาร ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องทรงทำสงครามขับไล่พม่าเพื่อรักษาเอกราชของชาติ รวมทั้งหมด 7 ครั้ง

ด้านกฎหมาย โปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายที่มีอยู่แต่เดิมให้เหมาะสมกับยุคสมัย เพื่อใช้เป็นหลักในการปกครองบ้านเมือง  มีการประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราประจำของเสนาบดี 3 ตำแหน่ง คือ สมุหนายก สมุหกลาโหม และพระคลัง ตามลำดับ จึงเรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎหมายตราสามดวง

ด้านพระพุทธศาสนา โปรดเกล้าฯ ให้ชำระสังคายนาพระไตรปิฎก กวดขันพระธรรมวินัยสงฆ์ และออกกฎหมายปกครองคณะสงฆ์

ด้านวรรณกรรม ทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านวรรณกรรม บทพระราชนิพนธ์ที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นกลอนบทละคร เช่น บทละครเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา ดาหลัง ฯลฯ และเพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง เป็นต้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครองราชย์ระหว่าง พ.ศ. 2394-2411   

  พระราชกรณียกิจที่สำคัญมีดังนี้

-การทำสนธิสัญญากับอังกฤษ เพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ

-ทรงขยายพระนคร โดยการขุดคลองและสร้างถนน เช่น คลองผดุงกรุงเกษม  คลองภาษีเจริญ คลองดำเนินสะดวก ถนนเจริญกรุง ถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร

-ทรงบัญญัติกฎหมายเกือบ 500 ฉบับ

-ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ ยอมรับวิชาการตะวันตกมาใช้

-ทรงพระปรีชาสามารถด้านดาราศาสตร์ คือ ทรงคำนวณเวลาเกิดสุริยุปราคาได้อย่างแม่นยำ

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ครองราชย์ระหว่าง 2411-2453 ทรงนำประเทศให้รอดพ้นจากการถูกยึดครองเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตก และทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยในทุกๆด้าน จึงทรงได้รับพระราชสมัญญาว่า พระปิยมหาราชพระราชกรณียกิจที่สำคัญมีดังนี้

ด้านการปกครอง ทรงปฏิรูปการปกครองตามแบบอย่างชาติตะวันตก กล่าวคือ ในส่วนกลางให้มีกระทรวง 12 กระทรวง ในส่วนภูมิภาคให้มีการปกครองหัวเมืองในระบบเทศาภิบาล และในส่วนท้องถิ่นให้มีสุขาภิบาล

ด้านกฎหมายและการศาล แยกอำนาจตุลาการออกจากฝ่ายบริหาร ยกเลิกการไต่สวนคดีความแบบจารีตนครบาล เช่น ตอกเล็บ บีบขมับ ฯลฯ จัดตั้งโรงเรียนสอนกฎหมาย และประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาฉบับแรกของไทยตามระบบกฎหมายของประเทศที่เจริญแล้ว  

ด้านเศรษฐกิจ ทรงปฏิรูประบบการคลังของแผ่นดินให้รัดกุม โดยจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทำหน้าที่รวบรวมเงินรายได้ของแผ่นดินให้มาอยู่ในหน่วยงานเดียวกัน จัดตั้งกรมพระคลังมหาสมบัติ ทำหน้าที่เก็บภาษีอากรประเภทต่าง ๆ มีการจัดพิมพ์ธนบัตร และจัดทำงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก

ด้านการทหาร ปฏิรูปกิจการทหารตามแบบอย่างประเทศตะวันตก เช่น จัดตั้งกรมยุทธนาธิการ โรงเรียนนายร้อยทหารบก ฝึกซ้อมรบและใช้อาวุธที่ทันสมัย และตราพระราชบัญญัติเกณฑ์ทหาร เป็นต้น

ด้านสังคม การปฏิรูปสังคมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเลิกทาสและยกเลิกระบบไพร่  เป็นการสร้างความเป็นธรรมในสังคมและทำให้ราษฎรมีอิสระในการดำเนินชีวิต

การเลิกทาส  

การเลิกทาส มีการดำเนินการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ดังนี้

21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 ออกประกาศ พระราชบัญญัติพิกัดอายุลูกทาสลูกไท กำหนดค่าตัวลูกทาสที่เกิดในปีมะโรง พ.ศ. 2411 อันเป็นปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์สมบัติให้มีค่าตัวลดลงเรื่อยๆ และหมดไปเมื่ออายุย่างเข้าปีที่ 21

8 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ออก ประกาศลูกทาส เพื่อให้เจ้าเบี้ยนายเงินสำรวจลูกทาสในสังกัด เพื่อจะได้กำหนดค่าตัวได้ถูกต้อง

18 ตุลาคม พ.ศ. 2417 ประกาศ พระราชบัญญัติเกษียณอายุลูกทาสลูกไท เพื่อมิให้ราษฎรทั่วไปวิตกว่าจะไม่มีทาสไว้ใช้สอย

1 เมษายน พ.ศ. 2448 ประกาศใช้ พระราชบัญญติทาสรัตนโกสินทร์ศก 124กำหนดให้ลูกทาสทุกคนเป็นอิสระและห้ามการซื้อขายทาสอีก เป็นผลให้ทาสหมดไปจากสังคมไทย

                การเลิกไพร่ ในสมัยรัชกาลที่ 5 ระบบไพร่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบ้านเมือง เพราะไพร่ต้องสังกัดมูลนายจึงย้ายที่อยู่ไม่ได้ เป็นการขัดขวางการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และทำให้เกิดความไม่ยุติธรรมในสังคมเกิดปัญหาเรื่องการควบคุมกำลังคน เพราะทางการไม่สามารถควบคุมกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น พระองค์จึงทรงดำเนินงานหลาย

ขั้นตอนเพื่อเลิกระบบไพร่โดยใช้วิธีให้ไพร่เสียเงินแทนการถูกเกณฑ์แรงงาน ดังนี้

3 มกราคม พ.ศ. 2443 ออก พระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์จ้าง  กำหนดว่าตั้งแต่นี้ไป การเกณฑ์ราษฎรตลอดจนพาหนะเพื่อช่วยงานราชการต้องให้ค่าจ้างตามสมควร ถ้าผู้ถูกเกณฑ์ต้องเสียส่วยหรือเงินค่าราชการก็ให้ลดเงินได้

ใน พ.ศ. 2444 ออกพระราชบัญญติห้ามการเกณฑ์แรงงานไพร่และพระราชบัญญติเบี้ยบำนาญ พระราชทานบำนาญแก่ข้าราชการแทนการพระราชทานไพร่สมให้ เป็นการสิ้นสุดการมีไพร่สมของมูลนาย

พ.ศ. 2448 ตราพระราชบัญญติเกณฑ์ทหาร ร.ศ 124 ให้ชายฉกรรจ์ อายุครบ 18 ปี เข้ารับราชการทหารประจำการ 2 ปี แล้วปลดเป็นกองหนุน

การยกเลิกระบบไพร่ทำให้ประชาชนมีอิสระในการประกอบอาชีพ การศึกษาเล่าเรียน และเกิดระบบทหารอาชีพ หน้าที่ของชายไทยต่อประเทศมีจำกัดแน่นอนเพียง 2 ปีในเวลาปกติสามารถเลือกประกอบอาชีพและเลือกที่อยู่อาศัยได้ตามใจชอบ และสามารถเพิ่มผลผลิตได้ตามความต้องการของการขยายการค้าระหว่างประเทศ จะเห็นได้ว่าการเลิกระบบไพร่มีความสำคัญยิ่งกว่าการเลิกระบบทาสเพราะเป็นการปลดปล่อยราษฎรส่วนใหญ่ของประเทศให้มีอิสระอย่างแท้จริง  

ด้านสาธารณูปโภค มีการขุดคลองและสร้างถนน ทรงริเริ่มนำกิจการด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ มาให้บริการแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก เช่น กิจการรถไฟ ไฟฟ้า ประปา โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ

ด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีการจัดตั้งสภากาชาดไทย และโรงพยาบาลวังหลัง (ศิริราชพยาบาล)

ด้านการศึกษา มีการจัดตั้งโรงเรียนหลวง ทั้งในกรุงเทพฯ และตามหัวเมืองต่างๆ และทรงส่งพระราชโอรสไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป

ด้านศาสนา โปรดเกล้าฯ ให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองสงฆ์ และจัดตั้งสถานศึกษาของสงฆ์ ได้แก่ มหามงกุฎราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ใน พ.ศ. 2440 และ พ.ศ. 2449 เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับผู้นำประเทศต่างๆ ทรงดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับชาติมหาอำนาจ เพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติไว้ โดยยอมเสียดินแดนส่วนน้อย เพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่ ทำให้ไทยรอดพ้นจากการตกเป็นอาณานิคมของชาติมหาอำนาจในที่สุด

จบ

 

1 comments on “สรุปการเปลี่ยนแปลงแต่ละยุคสมัยที่เกิดขึ้น (ม.6)

  1. อรรถชา
    21/02/2011

    อยากให้มากกว่านี้

ใส่ความเห็น

Information

This entry was posted on 22/01/2011 by in สังคมศึกษา.

ตัวนำทาง

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,652 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,652 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,868,652 hits

หมวดหมู่