AC127 : https://ac127.wordpress.com/

คุณยุ้ย – อัมพิกา (หาญพานิช) ศิริสุวัฒน์

ฮาร์วาร์ดแนะนำผู้บริหารให้….ฝึกการเจริญสติ วิปัสสนา

image  image

ที่มา https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=395255900665655&id=100005437449824

ทำไมฮาร์วาร์ดแนะนำผู้บริหารให้ฝึกการเจริญสติวิปัสสนา?

วันนี้จะมาคุยถึงเรื่อง “การเจริญสติเปลี่ยนสมองได้

สัปดาห์นี้เรา “โดดเรียน” จากชั้นเรียน “ศาสตร์แห่งสุข” ในเบอร์คลีย์   ข้ามฟากไป Harvard Business School กัน
วารสารรชื่อดัง Harvard Business Review ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “Mindfulness Can Literally Change Your Brain”
ซึ่งจะขอแปลแบบสรุปมาฝากดังนี้ค่ะ

= เปิดประเด็น =
งานวิจัยล่าสุดมากมายพิสูจน์ให้เห็นว่า…. การเจริญสติสามารถเปลี่ยนสมองได้จริงๆ และเปลี่ยนได้ในแบบที่ทุกคนที่ทำธุรกิจโดยเฉพาะผู้นำองค์กรพลาดไม่ได้เด็ดขาด

ทีมวิจัยจากคณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ทำงานวิจัยลักษณะนี้มาตั้งแต่ปี 2011 และพบว่า…. สมองส่วนเนื้อเทาของผู้เข้าร่วมการทดลองที่ฝึกเจริญสติติดต่อกันเป็นเวลา 8 สัปดาห์ มีความหนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

หลังจากนั้นก็มีทีมวิจัยจากทั่วโลกศึกษาผลของการเจริญสติที่มีต่อสมองกันมาอย่างต่อเนื่อง   ล่าสุดทีมนักวิจัยจากม.บริติช โคลัมเบีย และ ม.เทคโนโลยีเคมนิทซ์  ได้รวบรวมข้อมูลมาจากงานวิจัยถึง 20 ชิ้นและพบว่า…… การเจริญสติมีผลดีต่อสมองถึง 8 บริเวณด้วยกัน!
ในบทความนี้จะเน้นไปยังผลดีต่อสมอง 2 บริเวณที่น่าจะเป็นประโยชน์เป็นพิเศษต่อนักธุรกิจและผู้บริหารค่ะ
= การเจริญสติส่งผลดีต่อสมองส่วน ACC =

บริเวณแรกที่การเจริญสติไปช่วยเสริมสร้างให้แข็งแรงและทำหน้าที่ได้ดีขึ้นคือ anterior cingulate cortex (ACC)  สมองส่วนนี้ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมตนเอง  ความสามารถที่จะตั้งใจมีสมาธิจดจ่อและควบคุมพฤติกรรม
ACC จะช่วยควบคุมการตอบสนองแบบอัตโนมัติ และ ช่วยให้การตัดสินใจมีความยืดหยุ่นมากขึ้นค่ะ
ผู้ที่ ACC มีปัญหาในการติดต่อกับสมองส่วนอื่นๆ นั้น จะทำแบบทดสอบเกี่ยวกับความสามารถในการปรับตัวได้ไม่ค่อยดีนัก คือ จะมีพฤติกรรมยึดติดกับกลยุทธการแก้ปัญหาที่ไม่ได้ผล แทนที่จะพยายามปรับตนเองให้มีความยืดหยุ่นตามความเหมาะสม
= ผู้เจริญสติภาวนา ทำคะแนนทดสอบได้ดีกว่า =

ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้เจริญสติภาวนาทำคะแนนแบบทดสอบดังกล่าวออกมาได้ดีมาก   มีสมาธิจดจ่อ และ ตอบคำถามถูกต้องมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เจริญสติ

นอกจากนี้การทำงานของ ACC ในหมู่ผู้เจริญสติภาวนายังคึกคักกว่าผู้ที่ไม่ได้เจริญสติอีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ACC นั้นน่าจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ ในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หรือ มีความไม่แน่นอนนั่นเองค่ะ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจใช่ไหมคะ เพราะการเจริญสติภาวนานั้นทำให้เราเข้าใจธรรมชาติของการเปลี่ยนแปลง (อนิจจัง) ได้ดี
= การเจริญสติส่งผลดีต่อสมองส่วน Hippocampus =

สมองส่วนนี้ล่ะค่ะที่นักวิจัยพบว่า มีการเพิ่มของปริมาณเนื้อสีเทา ฮิปโปแคมปัสนั้นทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์และความจำค่ะ
ด้านนอกของฮิปโปแคมปัสนั้นถูกครอบคลุมด้วย ปุ่มรับฮอร์โมนความเครียด คอร์ติซอล  ถ้ามีความเครียดเรื้อรัง ฮิปโปแคมปัสจะเกิดความเสียหาย และส่งผลร้ายในรูปแบบของโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ทางร่างกายต่อไป

ที่เห็นได้ชัดคือ ผู้ป่วยโรคหดหู่ซึมเศร้าและโรคเครียดหลังจากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (PTSD) ซึ่งจะมีขนาดของฮิปโปแคมปัสที่เล็กลง

นักวิจัยพบว่า  การที่การเจริญสติ ทำให้ฮิปโปแคมปัสแข็งแรงขึ้นนั้น ทำให้ผู้เจริญสติมีความสามารถที่จะฟื้นตัวจากสภาวะทุกข์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นในวงการธุรกิจที่แข่งขันกันสูงทุกวันนี้
=  ผลดีต่อสมองส่วนอื่นๆ  =

นอกจากสมองทั้ง 2 ส่วนดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นักประสาทวิทยายังพบกว่าการเจริญสติวิปัสสนาเป็นประจำส่งผลดีต่อ

1) การรับรู้

2) การตระหนักรู้ทางร่างกาย

3) ความสามารถในการทนอาการเจ็บปวด

4) ความสามารถในการควบคุมอารมณ์

5) ความเข้าใจความคิดและความรู้สึกของตนเอง

6) การคิดแบบลึกซึ้ง

7) การรู้จักตนเองค่ะ

= สรุป =
บรรดาคณาจารย์และนักวิจัยฮาร์วาร์ดทั้ง 3 ท่าน ที่เขียนบทความนี้สรุปว่า  เราไม่ควรมองว่าการเจริญสติวิปัสสนานั้นเป็นเรื่องที่ “ถ้าทำได้ก็ดี”  สำหรับผู้บริหารอีกต่อไป แต่มันเป็น… สิ่งที่ผู้บริหารทุกคน “ต้องทำ” ต่างหาก!

ใส่ความเห็น

Information

This entry was posted on 26/08/2015 by in เรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน.

ตัวนำทาง

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,870,695 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,870,695 hits

หมวดหมู่

Enter your email address to follow this blog and receive notifications of new posts by email.

Join 101 other subscribers

สถิติบล็อก

  • 5,870,695 hits

หมวดหมู่